เรามักจะเห็นประกาศตามข่าว หรือโพสต์บนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ รวมถึงโครงการที่อาจจะมาจากสภากาชาดไทยเกี่ยวกับการเปิดรับบริจาคเลือกทั้งเคสด่วน หรือเคสปกติเพื่อนำไปใช้ในการรักษาซึ่งจะมีให้พบเห็นกันเป็นประจำซึ่งหากใครสุขภาพร่างกายแข็งแรง อยากไปบริจาคเลือดเพื่อช่วยต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกันก็ต้องเช็คคุณสมบัติให้ชั่วร์ พร้อมกับ เตรียมตัวบริจาคเลือด ก่อน-หลังซึ่งแต่ละขั้นตอนควรรู้ หรือควรเลี่ยงอะไรบ้างวันนี้เราจะพาไปหาคำตอบพร้อมกัน
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
เช็ก 5 คุณสมบัติก่อนบริจาคเลือด
เริ่มกันที่การเช็กคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการบริจาคเลือดว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดตาม 5 ข้อดังต่อไปนี้หรือไม่
- สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ โดยผู้บริจาคโลหิตจะต้องมีความปกติทั้งร่างกายและจิตใจที่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติและไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เช่น อ่อนเพลีย หรือมึนเอาจากสุรา หรือสารเสพติด รวมถึงการติดบุหรี่อย่างหนัก
- มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป เพราะหากน้ำหนักตัวน้อยกว่า 45 กิโลกรัมซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักที่น้อยเกินไป หากบริจาคเลือดไปแล้วอาจทำให้เกิดภาวะช็อก หรือเป็นลมได้เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างเลือดได้ทัน
- อายุตั้งแต่ 17 – 70 ปี
ถัดมาจะเป็นเกณฑ์อายุการบริจาคที่สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 17- 70 ปี แต่จะมีเงื่อนไขพร้อมเติมบางอย่างดังนี้
- ผู้ที่บริจาคโลหิตมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง แต่อายุ 18 ปีจะสามารถตัดสินใจบริจาคเลือดได้ด้วยตนเอง
- สำหรับผู้ที่บริจาคโลหิตครั้งแรกจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
- ผู้ที่มีการบริจาคโลหิตในช่วงอายุ 60 – 65 เป็นประจำสม่ำเสมอจะสามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ หน่วยเคลื่อนที่ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ
- ผู้ที่มีการบริจาคโลหิตในช่วงอายุ 65 – 70 เป็นประจำสม่ำเสมอจะสามารถบริจาคได้ทุก 6 เดือน แต่จะต้องมีการตรวจนับจำนวนของเม็ดเลือดทุกชนิดทุกครั้งและไม่รับบริจาคในหน่วยเคลื่อนที่
- ไม่มีประวัติป่วย เป็นโรคร้ายแรง หรือโรคติดต่อทางกระแสเลือด หากผู้ที่บริจาคมีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือกำลังรักษาอยู่ รวมถึงโรคติดต่อทางกระแสเลือดให้งดการบริจาคเลือดเพื่อป้องการถ่ายทอดเชื้อไปยังผู้ป่วยที่ได้รับโลหิต
- ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ จะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ เช่นการเปลี่ยนคู่นอน ทำงานบริการทางเพศ เสพยาเสพติด หรือมีความเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ โดยควรงดบริจาคเลือด
TIP! โรคที่ห้ามบริจาคเลือดในปัจจุบัน ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไทรอยด์ ลมชัก มะเร็งทุกชนิด วัณโรค หอบหืด ตับอักเสบ ไข้หวัด ไข้เลือดออก ชิกุนกุนยา (บริจาคได้หลังจากหายแล้ว 1 เดือน) ไข้ซิกา (บริจาคได้หลังจากหายแล้ว 4 เดือน) มาลาเรีย (บริจาคได้หลังจากหายแล้ว 3 ปี) และโควิด (บริจาคได้หลังจากหายแล้ว 4 สัปดาห์)
Cr: Freepik
เช็กลิสต์ เตรียมตัวบริจาคเลือด ก่อน – ขณะ – หลัง
ต่อมาจะเป็นเช็คลิสต์ไว้ให้ผู้ที่บริจาคเลือด เตรียมตัวซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงได้แก่ ก่อน – ขณะ – หลัง ดังนี้
การเตรียมตัวก่อนบริจาคเลือด
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง
- ต้องมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ซึ่งปราศจากไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างการรับประทานยาปฏิชีวนะใด ๆ อาทิ ยาแก้อักเสบ (โดยจะต้องหยุดยามาแล้วไม่น้อยกว่า 7 วันจึงจะบริจาคได้)
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูงก่อนมาบริจาคเลือดภายใน 6 ชั่วโมงอาทิ ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู เพราะจะทำให้เกิดพลาสมาสีขาวขุ่นจึงไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้
- งดเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- งดเง้นการสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิตอย่างน้อย 1 ชั่วโมงเพื่อช่วยให้ปอดฟอกเลือดได้ดี
- ดื่มน้ำก่อนบริจาคเลือดอย่างน้อย 30 นาที (ประมาณ 3-4 แก้วซึ่งจะเท่ากับปริมาณโลหิตที่เสียไปและช่วยลดภาวะการเป็นลมจากการบริจาคโลหิตได้)
การเตรียมตัวขณะบริจาคเลือด
- สวมใส่เสื้อผ้าที่บริเวณแขนเสื้อไม่คับเกินไปโดยสามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
- ให้เลือกแขนข้างที่เห็นเส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน หรือผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ อีกทั้งหากมีอาการแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
- ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคเลือด
- ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอเพื่อเลือดไหลเวียนได้สะดวก โดยหากมีอาการ ผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
- หลังบริจาคเลือดเสร็จเรียบร้อยควรนอนพักบนเตียง 5-10 นาที ก่อนลุกจากเตียงเพราะอาจทำให้วิงเวียนศีรษะเป็นลมได้จึงต้องให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดีแล้วลุกไปดื่มน้ำและรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
การเตรียมตัวหลังบริจาคเลือด
- ควรพักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้บริการ โดยควรนั่งพักอย่างน้อย 15 นาทีและให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 1 วันเพื่อช่วยในการสร้างเลือดทดแทนเลือดที่เสียไป
- หลังบริจาคเสร็จไม่ควรกลับทันที แต่ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติโดยหากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
- หลีกเลี่ยงการขึ้นลงลิฟท์ หรือบันไดเลื่อนเพราะอาจทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะและเป็นลมได้
- ถ้ามีเลือดซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผลให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อซ โดยต้องกดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเลือดเพื่อพบแพทย์ หรือพยาบาล
- หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้แรงแขน เช่น ยกของหนัก โดยนับเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังการบริจาคโลหิต
- ควรพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาทิ การเดินซื้อของ อยู่ในบริเวณที่แออัดหรืออากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น
- ผู้บริจาคเลือดที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยกับการทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลควรหยุดพัก 1 วัน
- หลังจากบริจาคเลือดสามารถรับประทานอาหารตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยเลือดที่บริจาค
- รับประทานธาตุเหล็กวันละ 1 เม็ด หรือจนหมดเพื่อชดเชยเหล็กที่เสียไปจากการบริจาคเลือดและป้องกันการขาดธาตุเหล็กเพื่อให้สามารถบริจาคโลหิตได้อย่างสม่ำเสมอ
- การรับประทานธาตุเหล็กบำรุงโลหิต พร้อมกับเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูง เช่น น้ำส้ม น้ำฝรั่ง หรือน้ำมะเขือเทศ จะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี ยกเว้นชาเขียว เพราะจะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก
Cr: Freepik
การบริจาคเลือดจึงเปรียบเสมือนการส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้ผู้ป่วยที่ต้องการเลือดในการรักษาได้มีชีวิตต่อซึ่งถือเป็นกุศลแก่เพื่อนมนุษย์อันยิ่งใหญ่ แต่ผู้บริจาคก็ต้องมั่นใจในตนเองว่ามีการดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอและงดเว้นสิ่งมึนเมา สารเสพติดและการสูบบุหรี่ก่อนไปบริจาคเลือด รวมถึงการ เตรียมตัวบริจาคเลือด ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมเช็คคุณสมบัติว่าสามารถบริจาคเลือดได้หรือไม่เพื่อให้คนบริจาคไม่เสียเที่ยว ส่วนคนรับบริจาคก็ได้เลือดมีคุณภาพตรงตามเกณฑ์
ส่วนใครที่กำลังอยากบริจาคเลือดโดยมีคุณสมบัติตรงตามกำหนด แต่อยากเตรียมความพร้อมก่อนบริจาคด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงวิตามินและอาหารเสริมต่าง ๆ ก็สามารถเข้ามาเลือกซื้อกันได้ที่ Shopee เพราะเรามีสินค้าต่าง ๆ ที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี พร้อมโค้ดส่วนลด แคมเปญกิจกรรมต่าง ๆ ให้เข้าร่วมมากมาย และยังสามารถแวะเข้ามาอ่านสาระดี ๆ ทั้งการรับประทานอาหารที่ดีสุขภาพ การเลือกซื้อสินค้า รวมถึงข้อควรระวังต่าง ๆ ที่รวบรวมมาไว้ให้แก่คุณผู้อ่านได้ที่ Shopee Blog เช่น หมอนสุขภาพ ยี่ห้อไหนดี และบทความน่าสนใจอีกเพียบ