บางครั้งโรคร้ายก็ชอบมาเยี่ยมเยียนกันแบบเงียบ ๆ ถึงแม้ว่าร่างกายของหลายคนด้วยกันที่ดูภายนอกจะแข็งแรง หรือบางคนก็มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดโรคร้ายขึ้นได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่จำเป็นที่ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยความดันสูง จะใช้เครื่องวัดความดันได้เท่านั้น แต่สำหรับกลุ่มคนปกติ เด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถที่จะใช้ในการวัดความดันได้เช่นกัน เป็นการเช็คร่างกายนอกเหนือจากการตรวจสุขภาพประจำปี และการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ฟังก์ชันที่ต้องการ รวมไปถึงราคาที่เหมาะสมนั่นเอง
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
เครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี ราคาถูก ใช้งานง่ายและแม่นยำ
สำหรับเครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี ที่แนะนำมาข้างต้นจะเป็นแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน มีฟังก์ชันต่าง ๆ ให้และมีน้ำหนักเบาพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างสะดวก และเครื่องวัดความดันซื้อที่ไหนได้ หากชอบรุ่นไหนก็คลิกซื้อได้เลย เพราะคัดมาแล้วว่าราคาเหมาะสมกับการใช้งานจริงแน่นอน
1. Sumato SM-N97
ราคา 249 บาท
เครื่องวัดความดันรุ่นนี้สามารถที่จะพกพาไปได้อย่างสะดวก มีน้ำหนักเบา มีหน้าจอแสดงผลแบบดิจิตอล วัดค่าความดันได้อย่างมาตรฐานเทียบเท่ากับโรงพยาบาล สามารถจะตรวจวัดความดันได้ทั้งในและนอกสถานที่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องพลังงานที่ใช้ เพราะรุ่นนี้จะใช้ถ่าน AAA สามารถจะใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีฟังก์ชันการใช้งานได้หลากหลายสามารถปรับตั้งค่าได้ มีระบบการบันทึกค่า 90 ชุด ปิดเครื่องอัตโนมัติเพื่อประหยัดพลังงานภายใน 1 นาที (Power Saving)
2. BP Sure KF-65B by WN Medical
ราคา 999 บาท
BP Sure เครื่องวัดความดันที่สามารถใช้ได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถจะวัดได้ค่าความดันที่มีความแม่นยำ มีขนาดที่พอเหมาะใช้งานง่ายด้วยการกดปุ่มสีน้ำเงินปุ่มเดียว หน้าจอดิจิทัลขนาดใหญ่เห็นตัวหนังสือได้อย่างชัดเจน ผู้สูงอายุก็สามารถที่จะใช้งานได้ด้วยตนเองเพื่อตรวจความดันโลหิตทุก ๆ วัน เครื่องสามารถบันทึกข้อมูลผู้ใช้ได้ 2 คน ๆ ละ192 ชุด ค่าความแม่นยำในการวัดความดัน +/-3 mmHg รับประกันคุณภาพตัวเครื่องนานถึง 5 ปี
3. All Well Blood Pressure Monitor รุ่น BSX593
ราคา 1,090 บาท
แบรนด์ Allwell รุ่นนี้เป็นเครื่องวัดความดันอัตโนมัติ จะมีหน้าจอเปลี่ยนสีได้ 3 สีตามค่าความดัน โดยสีเขียวหมายถึงค่าความดันปกติ, สีส้มหมายถึงค่าความดันค่อนข้างสูง และสีแดงหมายถึงค่าความดันสูง แสดงผลด้วยเสียงภาษาไทย และยังรองรับการอ่านค่าด้วยเสียงภาษาไทยเพื่อความเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตา นอกจากนี้ยังสามารถตั้งวันที่เพื่อเตือนสำหรับการวัดความดันอีกครั้งได้ด้วย โดยจะปลุกเตือนคุณ เพื่อป้องกันการลืมนั่นเอง
4. Omron รุ่น Hem-7120/Hem-7121
ราคา 1,499 บาท
เครื่องวัดความดันโลหิตรุ่นนี้มีจอภาพ LCD พร้อมผ้าพันแขนขนาด 22-32 เซนติเมตร และถ่านอัลคาไลน์ AA 4 ก้อนมาพร้อมหม้อแปลงไฟฟ้า ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถพกพาได้มีน้ำหนักเพียง 250 กรัม เครื่องสามารถปิดเองอัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งานเกิน 2 นาที มีระบบตรวจเช็คอัตราการเต้นของหัวใจและชีพจรที่ไม่ปกติ มีระบบเช็คการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะทำการวัดความดันและมีสัญลักษณ์แสดงค่าความดันโลหิตสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน หากกำลังหาเครื่องวัดความดัน Omron ซื้อที่ไหนก็ไม่ยากคลิกซื้อได้เลย
5. Yuwell BP Monitor รุ่น YE670A รุ่น YE670D
ราคา 769 บาท
เป็นเครื่องวัดความดันที่จอแสดงผลใหญ่ สามารถเห็นค่าเลขได้ชัดเจนรองรับเสียงภาษาไทย มีผ้าพันแขนขนาดกว้าง เส้นรอบวงแขน 22-45 เซนติเมตร รองรับได้ตั้งแต่เด็กจนถึงคนอวบอ้วนไปจนถึงผู้สูงอายุได้หมด สามารถเก็บบันทึกค่าวัดได้ถึง 74 ค่า โดยจะบันทึกค่าวัดให้โดยอัตโนมัติสามารถเรียกดูค่าเฉลี่ยการวัด 3 ครั้งล่าสุด ความจุของไฟฟ้าและแบตเตอรี่ค่อนข้างอึด หากชาร์จเต็มจะสามารถวัดได้เฉลี่ย 300 ครั้ง เครื่องจะดับเองหากไม่มีการใช้งานภายใน 30 วินาที
6. Lifebox L-BM01
ราคา 675 บาท
สำหรับเครื่องวัดความดัน Lifebox L-BM01จอแสดงผล LCD จะมีสัญญาณเตือนเมื่อมีการตรวจจับความเคลื่อนไหวในขณะกำลังวัดความดัน และจะมีการแจ้งเตือนการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ อีกทั้งมีการเก็บชุดข้อมูลได้ 2 คน คนละ 60 ชุดข้อมูล แสดงค่าเฉลี่ยการวัด 3 ครั้งล่าสุด ตัวเครื่องมาพร้อมกับผ้าพันต้นแขน ใช้ได้กับเด็กและผู้ใหญ่ ใช้งานด้วยถ่าน AA จำนวน 4 ก้อน มีสาย Micro USB ตัวเครื่องมีน้ำหนัก 226 กรัม สามารถจะพกพาไปใช้งานได้อย่างสะดวก
7. JP Smart
ราคา 799 บาท
เครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัติมีหน้าจอ LCD พกพาง่ายมีน้ำหนักเพียง 420 กรัม แสดงผลแบบดิจิทัลมีความชัดเจนและมีระบบเสียงภาษาไทย ตั้งค่าวันที่และเวลาได้ วัดได้ทั้งความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจใช้พลังงาน 2 ระบบกับการใช้แบตเตอรี่ AAA และใช้ไฟบ้านได้ แสดงค่าเฉลี่ยการวัดของข้อมูล 3 ครั้งล่าสุด มีหน่วยความจำสูงสุดถึง 99 ชุดสำหรับผู้ใช้งาน 1-2 คน มีผ้าพันแขนใช้ได้กับเด็กและผู้ใหญ่ ปิดเครื่องอัตโนมัติหลังไม่ใช้งาน 1 นาที
ข้อปฏิบัติก่อนใช้เครื่องวัดความดันโลหิต
- สิ่งสำคัญเลยไม่ควรวัดความดันทันทีหลังอาหารมื้อหลัก ควรเว้นช่วงเวลาให้ห่างกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือสูบบุหรี่ก่อนทำการวัดความดัน
- รวมไปถึงไม่ควรวัดความดันขณะที่ร่างกายกำลังเหนื่อย หมดแรง อ่อนเพลีย หรือมีอารมณ์เครียด
- ถ้าใช้เครื่องวัดความดันที่ต้นแขนให้วัดในท่านั่ง วางแขน และข้อศอกบนโต๊ะ จัดระดับผ้าพันต้นแขนในตำแหน่งที่เหมาะสม
ขั้นตอนการวัดความดัน
- นั่งบนเก้าอี้ในท่าที่สบาย ๆ ไม่ต้องเกร็งและวางแขนราบบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้นและไม่ต้องกำมือ
- พันผ้าพันแขนให้อยู่ในระดับหัวใจ หรือให้อยู่เหนือข้อพับแขนโดยประมาณ 2-3 เซนติเมตร เพื่อที่จะได้ผลที่แม่นยำ
- ควรวัดแขนข้างที่ไม่ถนัดและติดเทปที่ผ้าพันแขนไม่ให้หลวมหรือแน่นเกินไปให้พอดีกับขนาดแขน
- กดปุ่มทำงานที่เครื่อง แล้วรอผลความดันโลหิต ระหว่างวัดไม่ควรขยับตัวไปมา หัวเราะหรือพูดคุยตลอด
การอ่านค่าความดันโลหิต
ค่าความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่ควรจะมีค่าความดันตัวบนไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท และสำหรับค่าความดันปกติในแต่ละช่วงอายุจะแตกต่างกัน ซึ่งไม่สามารถที่จะนำค่ามาตรฐานของผู้ใหญ่มาใช้เป็นเกณฑ์ได้ ดังนี้
- วัยทารกขึ้นไป ค่าความดันที่วัดได้ไม่ควรเกิน 90/60 มิลลิเมตรปรอท
- เด็กเล็ก อายุตั้งแต่ 3-6 ปี ค่าความดันไม่ควรเกิน 110/70 มิลลิเมตรปรอท
- เด็กโต อายุตั้งแต่ 7-17 ปี ค่าความดันไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท
- วัยทำงานอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ค่าความดันไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ค่าความดันไม่ควรเกิน 160/90 มิลลิเมตรปรอท
ค่าความดันโลหิตที่แสดงบนเครื่องวัดความดันจะมี 2 ค่า คือ
- ตัวเลขบน เรียกว่า ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure หรือ SBP) เป็นความดันสูงสุดในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจบีบตัวและสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย
- ตัวเลขล่าง เรียกว่า ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (Diastolic Blood Pressure หรือ DBP) เป็นความดันต่ำสุดในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจคลายตัวระหว่างพักจากการสูบฉีดเลือด
การวัดความดันโลหิตอาจต้องทำหลายครั้งเพื่อความแม่นยำของค่าที่ได้ และควรจะต้องคำนึงถึงปัจจัยภายนอกเพิ่มเติมที่อาจส่งผลให้ค่าความดันโลหิตคลาดเคลื่อนหรือสูงกว่าปกติ เช่น การทำงานหรือกิจกรรมการเคลื่อนไหวใด ๆ มาก่อน หรือก่อนตรวจมีการสูบบุหรี่ การดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์มา เป็นต้น
เครื่องวัดความดันจะแบ่งเป็น 2 ระบบ
1. เครื่องวัดความดันอัตโนมัติ
ระบบอัตโนมัตินี้จะใช้งานง่ายกว่า มีความแม่นยำ เหมาะสำหรับการซื้อไว้ใช้งานที่บ้านหรือไว้พกพาได้สะดวกเมื่อจะต้องเดินทางไกลมีน้ำหนักเบา มีฟังก์ชันการใช้งานหลากหลายและสามารถวัดความดันและประมวลผลให้เองอัตโนมัติ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
- เครื่องวัดความดันแบบดิจิทัล
เรียกได้ว่าเป็นเครื่องวัดความดันสำหรับไว้ใช้ในบ้านที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะใช้งานง่ายและสะดวกเพียงพันสายรัดที่แขนและกดปุ่ม การแสดงผลค่าความดันได้ค่อนข้างแม่นยำ อาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้แต่แค่เพียงเล็กน้อยน้อย อีกทั้งราคาไม่แพงมาก ไม่ต้องใช้หูฟังหรือลูกยางในการบีบลม ตัวเครื่องจะทำการวัดค่าต่าง ๆ และประมวลผลเป็นตัวเลขบนหน้าจอดิจิทัลได้อย่างชัดเจน
- เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน
เครื่องวัดความดันโลหิตแบบสอดทั้งแขน จะเหมาะกับการใช้ในสถานพยาบาลมากกว่าเนื่องจากตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่และมีราคาสูง สำหรับผู้ที่ต้องการผลที่มีความแม่นยำสูง โดยเครื่องประเภทนี้สามารถหาค่าความดันได้อย่างง่าย ๆ เพียงแค่สอดมือหรือวางแขนไว้บนเครื่องเท่านั้น ตัวเครื่องจะทำการปรับท่าวางและตำแหน่งให้อย่างถูกต้องโดยอัตโนมัติ จึงแทบไม่มีการคลาดเคลื่อนในการวัด
2. เครื่องวัดความดันแมนนวล
ระบบนี้นิยมใช้กันมากในโรงพยาบาลขนาดเล็ก สถานีอนามัย สามารถวัดค่าความดันได้แม่นยำมากกว่า แต่ก็มีวิธีการใช้งานที่ซับซ้อนมากกว่าและจะต้องมีความชำนาญมากกว่ารวมไปถึงการอ่านค่าและประมวลผลด้วยตัวเอง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- เครื่องวัดความดันแบบปรอท (Mercury Sphygmomanometer)
เป็นเครื่องมือวัดความดันแบบดั้งเดิมพบได้ตามสถานีอนามัยหรือคลินิก ให้ผลการวัดที่มีความแม่นยำสูง ตัวเครื่องจะมีลักษณะเป็นแท่งแก้วที่ด้านในมีสารปรอทและมีตัวเลขบอกค่าความดันด้านข้าง มาพร้อมผ้ารัดแขนและลูกยางบีบลม
- เครื่องวัดความดันแบบเข็ม (Aneroid Sphygmomanometer)
เป็นเครื่องวัดความดันที่มีหน้าปัดบอกค่าการวัดแบบเข็มมาพร้อมผ้าพันแขน และลูกยางบีบลมน้ำหนักเบาจึงพกพาได้ง่าย สามารถวัดได้ทั้งบริเวณต้นแขนและข้อมือ ให้ผลการวัดที่มีความแม่นยำ ราคาย่อมเยา บางรุ่นมีหูฟังติดมากับผ้าพันแขน
เครื่องวัดความดันจะมีวิธีวัดได้ 2 แบบ
- การวัดความดันบริเวณข้อมือ
การวัดความดันบริเวณข้อมือผลตรวจอาจจะไม่แม่นยำเท่าการวัดจากต้นแขน เพราะเส้นเลือดบริเวณข้อมือจะมีขนาดเล็กและอยู่ตื้นกว่าบริเวณต้นแขน แต่การวัดซ้ำหลาย ๆ ครั้งก็จะช่วยให้ได้ค่าเฉลี่ยการวัดความดันที่แม่นยำขึ้นได้
- การวัดความดันบริเวณต้นแขน
การวัดบริเวณต้นแขนนี้ จะเป็นการวัดค่าที่จะได้ค่าความดันที่แม่นยำมากที่สุด โดยใช้การวัดความดันจากลมที่อัดใส่ผ้าที่รัดบริเวณต้นแขน ซึ่งเหมาะกับคนที่ต้องการผลตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำมากกว่าการวัดจากข้อมือ
เครื่องวัดความดันโลหิตแบ่งการใช้พลังงานออกได้เป็น 2 ประเภท
- ประเภทใช้ไฟฟ้า แบบใช้ไฟฟ้าก็จะใช้งานง่าย แค่เสียบปลั๊กก็สามารถใช้งานได้เลย
- ประเภทใช้ถ่าน เหมาะสำหรับการเดินทาง ที่จำเป็นจะต้องพกพาเครื่องไปด้วยทุกที่
เครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี กับฟังก์ชันที่มีให้มา
- บางรุ่นจะสามารถเรียกดูค่าเฉลี่ยความดันได้ 3 ครั้งล่าสุด
- สามารถจะเลือกขนาดของผ้าพันแขนที่พอดีกับผู้ใช้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้
- สามารถตรวจจับตำแหน่งการวางแขนหรือการใช้ผ้าพันแขนให้ถูกต้อง
- สำหรับบางเครื่องสามารถบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 2 คน
- สามารถเชื่อมต่อกับ Smartphone เพื่อวิเคราะห์ผลตรวจได้
- บางรุ่นจะมีสัญญาณเตือนการเคลื่อนไหว ในขณะที่มีการวัดความดัน
เครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี พร้อมใช้งาน ไปด้วยกันได้ทุกที่
อย่าลืมว่าปัจจุบันนี้เรื่องสุขภาพต้องมาก่อนเสมอ จะต้องมีการดูแลกันเป็นพิเศษโดยเฉพาะการมีเครื่องวัดความดันที่ราคาไม่แพงเลยกับการได้ใช้ตรวจสภาพร่างกายในแต่ละวันได้ ก็น่าจะมีติดบ้านไว้ ส่วนเครื่องวัดความดันซื้อที่ไหน ปัจจุบันนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลยกับการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี ซึ่งไม่ว่าจะชอบรุ่นไหน ฟังก์ชันแบบใด ราคาเท่าไหร่ ก็สามารถจะซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยาทั่วไป รวมถึงสามารถจะสั่งซื้อออนไลน์ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเลือกซื้อด้วยตัวเอง