ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ อย่างหูฟังนั้นช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันได้มาก ตั้งแต่การใช้ฟังพอดแคสระหว่างเดินทาง การฟังเพลงระหว่างทำกิจกรรมอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งการใช้รับสาย-ประชุมงาน และหูฟังดี ๆ ก็ช่วยให้เราได้อรรถรสของเสียงได้อย่างมาก แต่ด้วยความหลากหลายของหูฟังในปัจจุบันที่มีให้เลือกมากมายทั้งประเภทและยี่ห้อทำให้หลาย ๆ คนอาจไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นซื้อที่จุดไหน ตกลงแล้วหูฟังมีกี่แบบให้เลือกกันแน่ และจะเลือกหูฟังแบบไหนดีให้คุ้มค่าตรงใจ ใครที่ยังสงสัยอยู่ก็ตามมาดูในบทความนี้ได้เลย!
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ประเภทของหูฟัง หูฟังมีกี่แบบให้เลือกบ้าง?
เริ่มแรกเราลองมาสำรวจกันดูก่อนเลยว่าในท้องตลาดนั้นหูฟังมีกี่แบบให้เราได้เลือกลองใช้กันบ้าง
ประเภทของหูฟัง แบ่งตามดีไซน์
มาเริ่มแรกกันด้วยการแบ่งประเภทของหูฟัง ตามรูปแบบดีไซน์ของตัวหูฟัง ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ไม่ว่าจะเป็น
1. หูฟัง In-Ear (หูฟังเอียร์บัด/หูฟังอินเอียร์)
หูฟัง In-Ear เป็นหูฟังขนาดเล็กที่เราคุ้นเคยกัน มีลักษณะที่ใช้สวมใส่เข้าไปในช่องหู และด้วยขนาดเล็กพกพาง่าย น้ำหนักเบา ให้คุณภาพเสียงดี ทำให้หูฟังชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน ทั้งการฟังเพลง ดูหนัง หรือแม้กระทั่งการออกกำลังกาย และยังเป็นประเภทที่ง่ายต่อการเก็บรักษาอีกด้วย แนะนำหูฟังประเภทนี้ เช่น Apple AirPods Pro, Sony WF-1000XM4, Samsung Galaxy Buds Pro หรือ Jabra Elite 75t
ข้อมูล
- ลักษณะ: หูฟังขนาดเล็กที่สวมใส่เข้าไปในช่องหู
- จุดเด่น: มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก น้ำหนักเบา กันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี
- เหมาะสำหรับ: การออกกำลังกาย การเดินทาง
2. หูฟัง On-Ear (หูฟังแบบครอบหูเล็ก)
หูฟัง On-Ear เป็นหูฟังแบบครอบบนหูแต่ไม่ได้ครอบปิดทั้งหู ตัวอุปกรณ์จะมีขนาดใหญ่กว่าหูฟัง In-Ear แต่เล็กกว่าหูฟัง Over-Ear ทำให้สามารถพกพาได้ง่ายกว่าหูฟัง Over-Ear และให้คุณภาพเสียงที่ดีพร้อมกับความสบายในการสวมใส่ แนะนำหูฟังประเภทนี้ เช่น Beats Solo Pro, Sony WH-CH510, JBL Live 400BT
ข้อมูล
- ลักษณะ: หูฟังที่ครอบบนหูแต่ไม่ครอบปิดทั้งหู
- จุดเด่น: น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี
- เหมาะสำหรับ: การใช้งานทั่วไป การทำงานในสำนักงาน
3. หูฟัง Over-Ear (หูฟังแบบครอบหูใหญ่)
หูฟัง Over-Ear เป็นหูฟังที่มีลักษณะครอบปิดทั้งหู ทำให้สามารถตัดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีเยี่ยมและให้คุณภาพเสียงที่ยอดเยี่ยม มักมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่าหูฟัง In-Ear และ On-Ear แต่ก็แลกมาด้วยประสบการณ์การฟังที่ดียิ่งขึ้น แนะนำหูฟังประเภทนี้ เช่น Sony WH-1000XM4, Bose QuietComfort 35 II, Sennheiser HD 660 S
ข้อมูล
- ลักษณะ: หูฟังที่ครอบปิดทั้งหู
- จุดเด่น: คุณภาพเสียงดี กันเสียงรบกวนได้มาก
- เหมาะสำหรับ: การฟังเพลงที่บ้าน การดูหนัง การทำงานที่ต้องการสมาธิสูง
ประเภทของหูฟัง แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อ
มาถึงการแบ่งประเภทตามรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ แบ่งตามลักษณะของการเชื่อมต่อ โดยหลัก ๆ ของการแบ่งประเภทในลักษณะนี้ ณ ปัจจุบัน จะสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. หูฟังมีสาย (Wired Headphones)
หูฟังแบบแรก จะเป็นหูฟังแบบมีสาย ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี เพราะเป็นรูปแบบพื้นฐานของหูฟังที่มีให้ใช้งาน โดยจะใช้การส่งสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์ ผ่านสาย เพื่อให้ตัวไดร์เวอร์ในหูฟังสามารถขับเป็นเสียงออกมาให้ผู้ฟังใช้งานได้ หูฟังประเภทนี้มักจะไม่มีแบตเตอรี่ในตัว สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ได้ทุกเครื่องเท่าที่จะใช้ได้ และรูปแบบของการเชื่อมต่อหลัก ๆ ก็จะมีทั้งการเชื่อมต่อด้วยช่องหูฟังแบบ 3.5 มิลลิิเมตร หรือเชื่อมต่อผ่าน USB รูปแบบต่าง ๆ เช่น USB-C, Lightning และยังมีรูปแบบครบทั้ง In-Ear, On-Ear หรือ Over-Ear
ข้อมูล
- ลักษณะ: หูฟังที่เชื่อมต่อผ่านพอร์ตเชื่อมต่อ เช่น ช่องหูฟัง 3.5 หรือ USB Type-C
- จุดเด่น: ไม่ต้องชาร์จแบต สามารถใช้ฟังได้ยาวนานตามที่ต้องการ
- เหมาะสำหรับ: การใช้งานทั่วไป การเดินทาง การใช้งานกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2. หูฟังไร้สาย (Wireless/Bluetooth Headphones)
หูฟังไร้สายเป็นได้ทั้งหูฟังแบบ In-Ear, On-Ear หรือ Over-Ear แต่จะเป็นหูฟังที่มีจุดเด่นที่มีการใช้เทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth) หรือวิธีการเชื่อมต่อแบบไร้สายอื่น ๆ เข้ากับอุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียง ทำให้ไม่ต้องใช้สายเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ทำให้การใช้งานสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น เหมาะสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย และการเดินทาง แนะนำหูฟังประเภทนี้ เช่น Apple AirPods Pro, Bose QuietComfort Earbuds
ข้อมูล
- ลักษณะ: หูฟังที่เชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยีบลูทูธ
- จุดเด่น: ไม่มีสายเกะกะ พกพาสะดวก
- เหมาะสำหรับ: การออกกำลังกาย การเดินทาง การใช้งานทั่วไป
ประเภทหูฟังเพิ่มเติม แบ่งตามฟีเจอร์พิเศษ
จริง ๆ แล้วหูฟังประเภทนี้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของทุกประเภทที่ผ่านมา แต่เป็นประเภทที่น่าสนใจ เพราะแบ่งตามฟีเจอร์พิเศษที่มีให้ใช้งาน สามารถแบ่งได้หลัก ๆ เป็นดังนี้
5. หูฟังตัดเสียงรบกวน (Noise-Canceling Headphones)
เป็นได้ทั้งหูฟังแบบ In-Ear, On-Ear หรือ Over-Ear แต่จะมีฟีเจอร์การตัดเสียงรบกวน (Noise-Cancelling Headphones) ใช้เทคโนโลยีการตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟ (Active Noise Cancelling) เพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอก เช่น เสียงเครื่องยนต์ เสียงพูดคุย หรือเสียงลม ทำให้คุณสามารถฟังเพลง ดูหนัง หรือทำงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่ถูกรบกวน ได้ยินเสียงจากหูฟังได้ชัดเจนขึ้น ทำให้เสียงรบกวนภายนอกไม่สามารถรบกวนอรรถรสในการฟังได้ แนะนำหูฟังประเภทนี้ เช่น Bose QuietComfort 35 II, Jabra Elite 85h
ข้อมูล
- ลักษณะ: หูฟังที่มีเทคโนโลยีตัดเสียงรบกวนจากภายนอก
- จุดเด่น: ลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เหมาะสำหรับ: การเดินทาง การทำงานในที่มีเสียงรบกวน
6. หูฟังสำหรับการเล่นเกม (Gaming Headphones)
เป็นหูฟังที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับการเล่นเกมโดยเฉพาะ สามารถให้คุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยมและมักมาพร้อมกับไมโครโฟนที่ช่วยในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมทีม การเลือกหูฟังที่เหมาะสมสามารถเพิ่มประสบการณ์การเล่นเกมและช่วยให้คุณมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ตัวอย่างหูฟังประเภทนี้ที่น่าสนใจ เช่น Razer BlackShark V2 Pro, Logitech G Pro X Wireless
- ข้อมูล
- ลักษณะ: หูฟังที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการเล่นเกม
- จุดเด่น: มีไมโครโฟนในตัว คุณภาพเสียงเซอร์ราวด์
- เหมาะสำหรับ: การเล่นเกม การสื่อสารในเกมออนไลน์
การเลือกหูฟังที่เหมาะสม
Credit: Freepik
การเลือกหูฟังที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้ประสบการณ์การฟังที่ดีที่สุดด้วยการสวมใส่ที่สบายที่สุด การเลือกหูฟังที่เหมาะกับการใช้งานจึงมีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง เช่น
1. ไลฟ์สไตล์ที่ต้องการใช้
การเลือกหูฟังที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ทำให้การใช้หูฟังไม่กลายเป็นภาระหรือเป็นเรื่องลำบาก โดยเราควรตั้งเป้าหมายว่าจะนำหูฟังมาใช้ในช่วงไหนบ้าง เช่น ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้เล่นเกม หรือใช้รับโทรศัพท์/คุยงาน ก็ควรเลือกประเภทของหูฟัง คุณภาพเสียง ความสบายในการสวมใส่ให้ตรงกับสภาพของการใช้งานจริงเป็นหลัก
2. แบตเตอรี่และการชาร์จ
การชาร์จแบตเป็นเรื่องหนึ่งที่เราควรคำนึงถึง ควรเลือกอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนาน มีระยะเวลาชาร์จที่รวดเร็ว และมีเคสชาร์จหรือวิธีการชาร์จที่สะดวก
3. ฟีเจอร์พิเศษ
สำรวจความต้องการใช้งานว่าเราต้องใช้ฟีเจอร์พิเศษอื่น ๆ เช่น ไมโครโฟน ระบบตัดเสียงรบกวน ระบบเสียงรอบทิศทาง หรือการเชื่อมต่อไร้สายหรือไม่
4. การรับประกันหลังการขาย
การรับประกันหลังการขายเป็นการให้ความมั่นใจได้ว่าการใช้งานหูฟังจะอยู่กับเราไปได้นานพอ ควรเลือกหูฟังที่มีการรับประกันที่น่าเชื่อถือและมีระยะเวลารับประกันอย่างน้อย 1 ปี โดยอย่าลืมตรวจสอบความพร้อมของศูนย์บริการและการซ่อมแซมด้วย
เพราะหูฟังในท้องตลาดมีหลายแบรนด์หลายประเภทให้เลือก ซึ่งเราคงได้ทราบกันแล้วว่าหูฟังมีกี่แบบกันแน่ ที่สำคัญกว่านั้นคือการเลือกหูฟังที่เหมาะกับความต้องการและลักษณะการใช้งาน ซึ่งเราควรให้ความสำคัญกับประเภทของหูฟัง คุณภาพเสียง ความสบายในการสวมใส่ ฟีเจอร์พิเศษ แบตเตอรี่ และการรับประกัน เพื่อให้ได้หูฟังที่ตรงกับความต้องการและเพิ่มประสบการณ์การฟังของคุณให้ดีที่สุด ถึงตรงนี้หากใครที่ยังไม่จุใจกับบทความที่ Shopee คัดมาให้ในคราวนี้ก็สามารถเข้าไปอัปเดตบทความต่อได้เลยที่ Shopee Blog! หรือเลือกซื้อเลือกช้อปหูฟังสำหรับเล่นเกม หรือเครื่องอ่านแผ่นซีดี ต่อได้เลยที่ Shopee!