เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ สิ่งแรกที่จะมีคำถามเกิดขึ้นเลยก็คือ รถยนต์มีพรบ.หรือไม่ ? เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนและต้องเบิกค่าชดเชย เราสามารถเบิกค่าชดเชยจากพรบ.ก่อนเป็นอันดับแรก หลายคนรู้ในข้อนี้ดี แต่อาจจะยังไม่รู้ถึงรายละเอียดว่าความคุ้มครอง พรบมีอะไรบ้าง รวมถึงพรบ.จ่ายอะไรบ้าง ซึ่งเรื่องนี้คนขับรถทุกคนต้องรู้ เพราะจะมีประโยชน์อย่างมาก ไม่เพียงแต่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุเท่านั้น ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นอีกด้วย เราจะพาทุกคนไปรู้ถึงรายละเอียดกันว่าพรบ คุ้มครองอะไรบ้าง พรบ.จ่ายอะไรบ้าง และการมีพรบ.รถยนต์นั้นดียังไง ทำไมถึงควรมี
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
พรบ.รถยนต์คืออะไร และพรบ คุ้มครองอะไรบ้าง
Credit : freepik.com
ก่อนที่เราจะไปรู้ว่าพรบ นั้นคุ้มครองอะไรบ้าง หรือพรบ.จ่ายอะไรบ้างนั้น เรามารู้จักกันให้ดีก่อนว่า พรบ.รถยนต์คืออะไร ? พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ คือการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ แล้วประกันภาคบังคับ คืออะไร กฎหมายได้บังคับใช้ให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จำเป็นต้องทำประกันพรบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และกำหนดไว้ว่าเจ้าของรถยนต์ที่มีชื่อตามเล่มทะเบียนรถจะต้องต่อพรบรถยนต์หรือประกันภัยภาคบังคับทุกปี พรบ คุ้มครองอะไรบ้าง ? เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้งานทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไปจนถึงรถโดยสาร รถพ่วง รถสิบล้อ ในกรณีที่รถประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ก็จะได้รับเงินชดเชยต่าง ๆ ด้วยเพราะเหตุนี้คนที่มีรถจึงควรมีพรบ. เพื่อคุ้มครองและใช้ในการเบิกเคลมค่าชดเชยต่าง ๆ รวมถึงค่าดูแลรักษาพยาบาลตามที่กำหนดนั่นเอง
และหากมีการฝ่าฝืนไม่ทำพรบ.แล้วนั้น นอกจากจะไม่ได้รับความคุ้มครอง พรบแล้ว ยังถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดต่อข้อกฎหมายอีกด้วย ซึ่งอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับ คืออัตราเบี้ยคงที่ไม่มีการเพิ่ม แต่ราคาจะแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของรถ ได้แก่ รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน เบี้ยประกัน 645.21 บาทต่อปี, รถกระบะน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน เบี้ยประกัน 967.28 บาทต่อปี และรถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน เบี้ยประกัน 1,182.35 บาทต่อปี ส่วนรถที่ได้รับการยกเว้นการทำพรบ.ประกันภาคบังคับ คือ รถยนต์ที่ใช้ในพระราชสำนักและมีเครื่องหมายตามพระราชวังกำหนด
ประกันภาคบังคับ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ
สิ่งสำคัญของการทำพรบ ที่เป็นประกันภาคบังคับ คือ จะช่วยให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่ประสบภัยจากการใช้งานรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทั้งกรณีที่คุณเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด หากเกิดอุบัติเหตุและมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้วนั้น ความคุ้มครอง พรบรถยนต์ก็จะให้ความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนด เพราะฉะนั้นประกันภาคบังคับ คือสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก เพราะเป็นมาตรการบรรเทาผลร้ายต่อผู้เสียหาย ช่วยลดปัญหาทางสังคมด้านหนึ่งซึ่งไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด และยังเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดอีกด้วย
นอกจากนี้แล้วการทำประกันภาคบังคับ คือสิ่งที่กฎหมายกำหนด เพราะหากไม่ได้ทำการต่ออายุ รถยนต์ของคุณก็จะไม่สามารถทำการเสียภาษีรถยนต์ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน และหากโดนตำรวจเรียกโดยที่รถของคุณไม่มีพรบ หรือพรบขาด ก็จะต้องโดนใบสั่งตามกฎหมาย ต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 200 บาท หรือหากเป็นรถที่ใช้งานอยู่แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเสียภาษี จะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 1,000 บาท
พรบ. จ่ายค่าเสียหายอะไรบ้าง
Credit : freepik.com
พรบ.รถยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นประกันภาคบังคับ คือสิ่งที่รถทุกคันจะต้องทำตามกฎหมายกำหนด เพราะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชน จะสามารถเบิกค่าชดเชยและความคุ้มครอง พรบก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งค่าชดเชยของพรบ จะคุ้มครองอะไรบ้าง และพรบ.จ่ายอะไรบ้างนั้น เราสามารถเบิกค่าชดเชยได้ดังต่อไปนี้
1. คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น
หากเกิดอุบัติเหตุ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ พรบ คุ้มครองอะไรบ้าง เราจะได้รับความคุ้มครอง พรบในความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยไม่พิสูจน์ความผิด ซึ่งมีรายละเอียดว่าพรบ.จ่ายอะไรบ้าง ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
- การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่าย 35,000 บาทต่อคน
- หากความเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 ความคุ้มครอง พรบต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
2. คุ้มครองค่าเสียหายส่วนเกิน
นอกจากค่าเสียหายเบื้องต้น ในส่วนนี้คือค่าเสียหายส่วนเกินที่จะจ่ายหลังจากที่พิสูจน์ความผิดแล้ว โดยบริษัทประกันของฝ่ายที่ผิดจะเป็นคนชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัย พรบ.จ่ายอะไรบ้าง จะแยกได้ดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ ความคุ้มครอง พรบจะจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล รวมค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะจ่ายชดเชยให้ทั้งหมดเป็นจำนวน 300,000 บาท ซึ่งรวมถึงค่ารักษาพยาบาลด้วย
3. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน
หากหลังจากที่พิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก พรบ จะคุ้มครองอะไรบ้าง ? ความคุ้มครอง พรบในกรณีเป็นฝ่ายถูกนั้น บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ โดยมีรายละเอียดว่าพรบ.จ่ายอะไรบ้าง ดังต่อไปนี้
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
- การสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่าย 200,000-500,000 บาทต่อคน
- กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากประกันภาคบังคับ คือจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน
- ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน จ่าย 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท
- จำนวนเงินที่พรบ คุ้มครองนั้น จะคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
นอกจากนี้วงเงิน มีความคุ้มครอง พรบสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง คือ 5,000,000 ต่อครั้ง และสำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง คือ 10,000,000 ต่อครั้ง
พรบ.จ่ายอะไรบ้าง ขอรับค่าเสียหายได้อย่างไร
หลังจากที่เราได้รู้ว่าพรบ. คุ้มครองอะไรบ้าง และพรบ.จ่ายอะไรบ้างแล้วนั้น เราสามารถขอรับค่าเสียหายหรือเคลมประกันได้อย่างไรบ้าง การขอรับค่าเสียหายจากประกันภาคบังคับ คือ หลังจากเกิดเหตุ บริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด ซึ่งผู้ประสบภัยหรือทายาทสามารถยื่นเรื่องขอรับค่ารักษาพยาบาลหรือค่าสินไหมทดแทนได้ด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้โรงพยาบาลเป็นผู้รับแทนก็ได้ โดยมีระยะเวลาในการขอใช้สิทธิ์ พรบ. ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดเหตุ
จะเห็นได้ว่าการมีความคุ้มครอง พรบนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก สำหรับผู้ที่ใช้ยานพาหนะในการขับขี่ทุกคน เพราะพรบ คุ้มครองอะไรบ้าง ไม่เพียงแต่ค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ยังมีค่าสินไหมทดแทน และค่าเสียหายส่วนเกินต่าง ๆ ที่เราควรจะได้รับเพื่อชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด เพราะเหตุนี้ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันควรที่จะทำพรบ.เอาไว้ เพราะเป็นประกันภาคบังคับ คือสิ่งที่เราสามารถเบิกค่าชดเชยจากพรบ.ได้ก่อนเป็นอันดับแรกเมื่อเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง
นอกจากพรบ คุ้มครองอะไรบ้างที่ควรรู้แล้วนั้น Shopee blog ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลรักษารถยนต์ และตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเดินทางที่คุณควรรู้ เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุแล้วต้องมาเคลมความคุ้มครอง พรบ
ที่มา : Asiadirect, Axa, วิริยะประกันภัย, โรงพยาบาลขอนแก่น ราม