Self Improvement

PDPA คืออะไร สำคัญอย่างไร อัปเดตข้อบังคับและสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคดิจิทัลแบบนี้ โลกออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราทุกคนไปแล้ว บุคคลทุกเพศทุกวัยสามารถท่องโลกอินเทอร์เน็ตผ่าน device ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์และแล็ปท็อปได้อย่างสะดวกง่ายดาย แต่ลืมไปหรือไม่ว่า การเข้าถึงทุกอย่างได้ง่ายก็อาจจะเป็นดาบสองคม ที่ทำให้เราอาจถูกร่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ ซึ่งมีกฎหมายที่จะคุ้มครองเราได้ก็คือ PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั่นเอง โดยประกาศบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ตามพระราชกฤษฎีกา หลายคนอาจจะยังไม่มีความรู้ว่า PDPD คืออะไร วันนี้ Shopee จะมาไขข้อสงสัยนั้นกัน

credit : freepik

PDPA คืออะไร

  • PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งบัญญัติมาตั้งแต่ปี 2562 แล้ว และมีการเลื่อนให้มีบังคับใช้เต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
  • บัญญัติขึ้นเพื่อให้รัฐบาลและเอกชนสามารถรวบรวม ใช้ เปิดเผย หรือโอนถ่ายข้อมูลบุคคลใดก็ได้ในประเทศไทย ตามมาตรการปกป้องข้อมูลการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งจะต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน
  • หากมีองค์การหรือหน่วยงานใดละเมิดพ.ร.บ. นี้ หน่วยงานนั้นๆ จะโดนลงโทษทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และโทษทางปกครอง
  • มีผลบังคับใช้ต่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประเมินผลข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่นอกราชอาณาจักรด้วย ตามกรณีดังนี้
  • หากมีการเสนอขายสินค้าให้แก่บุคคลภายในประเทศ ไม่ว่าจะชำระเงินหรือไม่ชำระเงินก็ตาม
  • มีการเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูลภายในประเทศ

ข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร

ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม

ข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

  1. เลขประจำตัวประชาชน
  2. ชื่อ-นามสกุล
  3. อีเมล
  4. ที่อยู่
  5. เบอร์โทรศัพท์
  6. เลขหนังสือเดินทาง
  7. เลขบัตรประกันสังคม
  8. เลขใบอนุญาตขับขี่
  9. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
  10. เลขบัญชีธนาคาร
  11. เลขบัตรเครดิต
  12. ข้อมูลทางการเงิน
  13. เชื้อชาติ
  14. ศาสนา
  15. พฤติกรรมทางเพศ
  16. ประวัติอาชญากรรม
  17. ข้อมูลสุขภาพ

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย PDPA

1. Data Subject – เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

บุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือผู้บริโภคอย่างเราๆ นั่นเอง ซึ่งเราเป็นเจ้าของข้อมูล ดังนั้นจึงมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 

2. Data Controller – ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้ พวกเขามีอำนาจที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เจ้าของแอปพลิเคชัน หรือบริษัทที่มีสิทธิในรับรู้ของมูลของลูกจ้าง เป็นต้น

3. Data Processor – ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บุคคล บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ที่เป็นคนประมวลผลข้อมูลนั้นๆ ภายใต้คำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้กระทำเอง เช่น messenger ที่ใช้ข้อมูลของลูกค้า เป็นต้น

สิทธิของเจ้าของข้อมูล

  1. สิทธิในการถอนความยินยอม หากได้ให้ความยินยอมไว้
  2. สิทธิในการได้รับการแจ้งข้อมูลโดยละเอียด
  3. สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  4. สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล
  5. สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
  7. สิทธิในการขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ไม่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของได้
  8. สิทธิในการขอให้ระงับในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
credit : freepik

บทลงโทษหากฝ่าฝืน PDPA

บทลงโทษกรณีกระทำความผิด พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA แบ่งออกเป็น 3 ลำดับ ได้แก่

1. โทษทางแพ่ง

กำหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความเสียหาย เช่น เสียหายทางร่างกาย เสียหายทางชื่อเสียง หรือเสียหายทางสิทธิ และศาลสั่งลงโทษเพิ่มขึ้นได้สูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหาย

2. โทษทางอาญา

มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ได้แก่ โทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เกิดขึ้นเมื่อรัฐมองว่าผู้ละเมิดสิทธิเป็นภัยต่อทรัพย์สิน สุขภาพ ความปลอดภัยและศีลธรรมต่อผู้ที่ถูกละเมิด

3. โทษทางปกครอง

โทษปรับมีตั้งแต่ 1 ล้านบาทไปจนถึงสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท เกิดจากการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล อาจจะเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

Q&A เกี่ยวกับ PDPA

1. การขอความยินยอม

ถาม: ผู้ควบคุมข้อมูลต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอีกครั้งหรือไม่ หากเป็นดังนี้

  1. ทำตามสัญญา
  2. ใช้กฎหมายให้อำนาจ
  3. ใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
  4. ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
  5. ใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัย
  6. ใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือสิทธิของเจ้าของข้อมูล

ตอบ: ไม่จำเป็น

2. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป

ถาม: การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอม ผิด PDPA หรือไม่?

ตอบ: หากการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นแต่ไม่เจตนา และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ถือว่าผิด PDPA

3. การโพสต์คลิป

ถาม: โพสต์คลิปหรือรูปภาพลงใน social media โดยบุคคลอื่นไม่ยินยอม ผิด PDPA หรือไม่?

ตอบ: สามารถโพสท์ได้ หากไม่ได้นำไปใช้ในเชิงการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

4. การติดกล้องวงจรปิด

ถาม: ติดกล้องวงจรปิดในบ้าน หรือ กล้องติดรถยนต์ แต่ไม่มีป้ายแจ้งเตือน ผิด PDPA หรือไม่?

ตอบ: การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้านหรือหน้ารถยนต์ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านและเจ้าของรถ ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน

ถึงแม้ว่า PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั่นเอง ได้บัญญัติอย่างชัดเจน แล้วพวกเราก็รู้แล้วว่า PDPA คืออะไร แต่ก็มีบางองค์กรหรือหน่วยงานที่แสวงหาผลประโยชน์จากกฎหมายนี้ เล่นลูกไม้ที่ไม่สมควร อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล ดังนั้นเราเอง ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูล จึงควรแสวงหาความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับพ.ร.บ. นี้ เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์ รู้ทันท่วงทีเอาไว้ก่อนดีกว่า อ่านบทความเกี่ยวกับความรู้และการพัฒนาตนเอง ได้ที่ Shopee Blog

อ้างอิง:  

Shopee TH

Share
Published by
Shopee TH

Recent Posts

10 จอแอนดรอยติดรถยนต์ ยี่ห้อไหนดี ? ภาพคม เสียงชัด ฟังก์ชันจัดเต็ม

สำหรับคนที่มีรถ นอกจากการตกแต่งภายในรถต่าง ๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่หลายคนมักจะให้ความสำคัญนั่นคือ เครื่องเสียงรถยนต์ ที่รวมถึงลำโพง และจอติดรถยนต์ ที่จะต้องเลือกอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ประสบการณ์ในการดูหนังฟังเพลงในระหว่างการเดินทางออกมาดีที่สุด ซึ่งในปัจจุบันจอแอนดรอยติดรถยนต์ ยี่ห้อไหนดีที่ดีที่สุดนั้น ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้รถยนต์รุ่นเก่าที่อาจจะยังไม่มีระบบอินโฟเทนเมนต์ เชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ…

7 days ago

10 ไอเดียแต่งตัวเล่นสงกรานต์ ผู้ชายยังไงให้เท่ ไม่แก่ สบายแห้งไว ไม่เหนียวตัว

สงกรานต์ปีนี้เตรียมพร้อมเปียกปอนกันรึยัง? นอกจากปืนฉีดน้ำและขันแล้ว การแต่งตัวให้เข้ากับเทศกาลก็สำคัญไม่แพ้กัน! หนุ่มๆ หลายคนอาจกังวลว่าแต่งตัวยังไงให้ดูดี ไม่แก่ แถมยังสบายตัว เล่นน้ำได้ทั้งวันโดยไม่เหนียวเหนอะหนะ บล็อกนี้มีคำตอบ! เราได้รวบรวม 10 ไอเดียการแมทช์ชุด เสื้อผ้า กางเกง ที่จะทำให้คุณดูเท่…

1 week ago

Niacinamide ยี่ห้อไหนดี 2025? แนะนำเซรั่ม Niacinamide ใช้ดี ราคาคุ้มค่า

Niacinamide หรือ ไนอาซินาไมด์ เป็นหนึ่งในส่วนผสมยอดฮิตที่ช่วยให้ผิวกระจ่างใส ลดรอยดำรอยแดง และเสริมเกราะป้องกันผิว แต่ด้วยแบรนด์สกินแคร์ที่มีให้เลือกมากมาย อาจทำให้หลายคนลังเลว่าจะเลือก Niacinamide ยี่ห้อไหนดี ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำ ตั้งแต่ว่า Niacinamide คืออะไร…

2 weeks ago

10 เครื่องเสียงรถยนต์ ยี่ห้อไหนดี? กระหึ่ม เหมาะแต่งซิ่งช่วงสงกรานต์ 2025

ในท้องตลาด มีเครื่องเสียงรถยนต์หลายยี่ห้อให้เลือก และมีขนาด รูปทรง และฟังก์ชันที่แตกต่างกันไป หลายคนจึงกำลังมองหาเครื่องเสียงรถยนต์ งบ 5000พร้อมติดตั้ง หรือเครื่องเสียงรถยนต์ งบ 3000 เพื่อเตรียมไว้สำหรับแต่งซิงช่วงสงกรานต์ เพื่อเปิดเพลงสนุกสนานไปกับเทศกาลให้ดังกระหึ่ม บทความนี้เราจึงจะมาแนะนำเครื่องเสียงรถยนต์ ยี่ห้อไหนดี…

2 weeks ago

ปักหมุด 10 เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ยี่ห้อไหนดีที่ให้แรงดันสูงในราคาสุดคุ้ม!

หากคุณกำลังมองหาเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ยี่ห้อไหนดีที่จะมาเป็นตัวช่วยในการทำความสะอาดให้สะดวกสบาย แถมยังคุ้มค่าด้วยราคาสบายกระเป๋า! นี่คือลิสต์ 10 เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ยี่ห้อไหนดี 2568 ที่ Shopee คัดมาเพื่อตอบโจทย์ความคุ้มค่าและการใช้งาน! ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดทั่วไปในบ้าน ใช้สำหรับงานสวน หรือใช้สำหรับการทำความสะอาดที่ต้องการแรงดันน้ำสูงสุดก็มีให้เลือกแบบครบๆ ซึ่งนี่ไม่ใช่แค่เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง…

3 weeks ago

น้ำมันเกียร์ เปลี่ยนตอนไหน และวิธีการเลือกที่เหมาะสม

น้ำมันเกียร์เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ระบบเกียร์ของรถยนต์ทำงานได้อย่างราบรื่น การดูแลและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะเวลาที่เหมาะสมจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเกียร์และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต บทความนี้จะตอบคำถามเกี่ยวกับน้ำมันเกียร์ เช่น น้ำมันเกียร์ เปลี่ยนตอนไหน คืออะไร ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ น้ำมันเกียร์ เปลี่ยนทุกกี่โล ใช้เบอร์อะไร และวิธีการเลือกน้ำมันเกียร์ที่เหมาะสม น้ำมันเกียร์ คืออะไร? น้ำมันเกียร์…

3 weeks ago