Special Occasion

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช และพระราชกรณียกิจ ร.5 ที่สำคัญต่อชาติไทย

วันปิยมหาราช (Chulalongkorn Day) ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เพื่อเป็นการเชิดชูและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ความสำคัญของวันปิยมหาราช

นอกจากวันปิยมหาราชจะเป็นวันหยุดราชการประจำปีแล้ว วันปิยมหาราชยังเป็นวันที่เหล่าพสกนิกรชาวไทยนำดอกไม้ธูปเทียนพวงมาลาไปถวายบังคมต่อพระบรมราชานุสรณ์ขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือพระปิยมหาราช ณ พระบรมรูปทรงม้าซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม และทำบุญตักบาตรอุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ความเป็นมาของวันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช ชื่อนี้มาจากพระสมัญญานามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน และเนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ครบ 40 พรรษา ในปีพ.ศ. 2451 ประชาชนได้ร่วมกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ถวายพร้อมกับพระสมัญญานาม

ต่อมาในวัน 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระปิยมหาราชทรงประชวรด้วยโรคพระวักกะ (ไต) ได้เสร็จสวรรคคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้งนั้นเป็นที่เศร้าเสียใจของประชาชนชาวไทยอย่างยิ่ง หลังจากนั้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันปิยมหาราช”

พระราชประวัติรัชกาลที่ 5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” ซึ่งคำว่า “จุฬาลงกรณ์” นั้นแปลว่า เครื่องประดับผม อันหมายถึง “พระเกี้ยว” ที่มีรูปเป็นส่วนยอดของพระมหามงกุฎหรือยอดชฎา เมื่อพระชนมายุได้ ๙ พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น “กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ” ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ”

พระราชประวัติรัชกาลที่ 5 เกี่ยวกับพระขนิษฐาและพระอนุชา

1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์

2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์

3. สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

พระราชประวัติรัชกาลที่ 5 ด้านการศึกษา

ในด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เริ่มทรงอักษรภาษาไทย ภาษาเขมร รวมถึงโบราณราชประเพณีในสำนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดาหลังจากนั้นได้ทรงศึกษาต่อในสำนักเจ้านายและขุนนางอื่น ๆ ในด้านภาษาบาลี วิชาปืนไฟ มวยปล้ำ กระบี่กระบอง คชกรรม อัศวกรรม นอกจากนี้ยังมีวิชารัฐประศาสนศาสตร์ราชประเพณี และโบราณคดี ได้ทรงร่ำเรียนจากสมเด็จพระราชบิดา

นอกจากนี้สมเด็จพระบิดาของพระองค์ได้เล็งเห็นความสำคัญขององค์ความรู้อื่น ๆ ที่ยังไม่มีในภาษาไทย จึงได้ทรงจ้างครูชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษให้แก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย ทำให้หลังจากการขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่สามารถตรัสภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

พระราชประวัติรัชกาลที่ 5 การผนวช

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระปิยมหาราช) มีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงผนวชเป็นพระภิกษุในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2416 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับที่วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา 15 วันแล้วจึงทรงลาสิกขา

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถึง 2 ครั้งด้วยกัน

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตจากไข้ป่าขณะเสด็จออกทอดพระเนตรปรากฎการณ์สุริยุปราคา เมื่อสิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ในที่ประชุมได้ลงมติเอกฉันท์ที่ทูลเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้นจึงได้แต่งตั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว”

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 หลังจากทรงลาสิขาแล้ว ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

พระราชกรณียกิจ ร.5

ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงประเทศด้วยพระปรีชาสามารถและสายพระเนตรอันยาวไกล ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายครั้งแก่ประเทศ ทำให้ประเทศไทยก้าวหน้าอย่างรอบด้าน

พระราชกรณียกิจ ร.5 ด้านการเลิกทาส

พระราชกรณียกิจ ร.5 ที่สำคัญอย่างแรกคือ การประกาศเลิกทาส ด้วยพระเมตตาของพระองค์ที่เห็นเหล่าทาสถูกนายเงินกดขี่ข่มเหง ทำงานหนัก และถูกลงโทษอย่างทารุณ พระองค์ทรงเห็นว่าไม่ยุติธรรมและเล็งเห็นว่าทาสเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของชาติ ในปีพ.ศ. 2411 ได้ทรงตราพระราชบัญญัติลดทาส จนถึงปีพ.ศ. 2448 จึงทรงตราพระราชบัญญัติเลิกทาส

พระราชกรณียกิจ ร.5 ด้านปฏิรูประบบราชการ

ในปีพ.ศ.2431 สมเด็จพระปิยมหาราชได้ทรงให้ยกเลิกระบบจตุสดมภ์ที่ปกครองแบบเวียง วัง คลัง นา เพื่อให้หน้าที่รับผิดชอบไม่ซ้ำซ้อนและมีมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงทดลองทำงานเป็นเวลาเหมือนประเทศตะวันตกคือ 8.30 – 16.00 น. ต่อมาในปีพ.ศ. 2435 ได้มีการขยายจากกรมเป็นกระทรวงทั้งสิ้น 12 กระทรวง เพื่อให้การทำงานชัดเจนมากขึ้น

พระราชกรณียกิจ ร.5 ด้านการศึกษา

หลังจากการประกาศเลิกทาส พระราชกรณียกิจ ร.5 ที่สำคัญตามมาคือด้านการศึกษา หลังจากที่ประชาชนเป็นไทมากขึ้น แต่ยังขาดความรู้ พระองค์ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเรียนหนังสือได้ และได้ตั้งโรงเรียนสามัญชนแห่งแรกของไทยชื่อว่า “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” รวมถึงมีการออกพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ ให้คนไทยในสมัยนั้นเรียนหนังสืออย่างน้อย 3 ปี และให้วัดเป็นสถานที่เรียนหนังสือ

พระราชกรณียกิจ ร.5 ด้านการปฏิรูประบบการเงินและคลัง

ในสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช ได้มีพระราชกรณียกิจที่สำคัญคือ การปฏิรูประเบียบการเงินการคลัง โดยได้มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ และมีการจัดระเบียบการจัดเก็บภาษีเสียใหม่เพื่อให้เกิดสมดุลในการปกครอง

พระราชกรณียกิจ ร.5 ด้านการต่างประเทศ

อีกหนึ่งพระราชกรณียกิจ ร.5 ที่เด่นชัดเป็นที่ประจักษ์แก่คนทุกรุ่นคือ ด้านการต่างประเทศ ซึ่งในสมัยของพระองค์ เป็นยุคของการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระปิยมหาราช ทำให้แผ่นดินไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ถึงแม้จำเป็นต้องเสียแผ่นดินบางส่วนไปบ้าง

พระราชกรณียกิจ ร.5 ด้านการโทรศัพท์

ในปีพ.ศ.2424 สมัยรัชการของพระปิยมหาราช ทางกรมกลาโหมได้เริ่มนำโทรศัพท์เข้ามาทดลองใช้ที่กรุงเทพฯ ถึงสมุทรปราการ โดยกรมโทรเลขได้รับหน้าที่ในการจัดตั้งโทรศัพท์กลางเพื่อให้ประชาชนเช่าใช้

พระราชกรณียกิจ ร.5 ด้านสาธารณูปโภค

มีการวางระบบท่อประปาครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2452 พร้อมทั้งทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากและขุดคลองเพื่อส่งน้ำอีกด้วย ในด้านการคมนาคม ในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้ทรงให้มีการเริ่มสร้างรถไฟไปนครราชสีมา และเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – พระนครศรีอยุธยา อีกทั้งยังทรงให้สร้างสะพานและถนนอีกหลายสาย อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลศิริราช สร้างโรงงานไฟฟ้า และริเริ่มการไปรษณีย์

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ถือเป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรือง ประเทศไทยพัฒนาในหลากหลายด้าน ด้วยพระปรีชาสามารถของพระปิยมหาราช ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รักของประชาชนชาวไทย ทุกวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี จึงถือเป็น วันปิยมหาราช ที่ทุกคนจะร่วมกันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

อ้างอิงจาก: dmc.tv, finearts.go.th, silpa-mag.com

Shopee TH

Share
Published by
Shopee TH

Recent Posts

แนะนำ 15 รองเท้า Mary Jane ยี่ห้อไหนดี พร้อมเทคนิคเลือก

รองเท้า Mary Jane เป็นหนึ่งในสไตล์รองเท้าตามฉบับผู้ดีอังกฤษ ด้วยสายคาดที่เป็นเอกลักษณ์ รูปทรงคล้ายรองเท้านักเรียนผู้หญิง สวมสะดวก ใส่สบาย ลงตัวเป็นคัทชูที่โดดเด่น เต็มไปด้วยเสน่ห์ จนกลายเป็นรองเท้าแฟชั่นที่อยู่เหนือกาลเวลา ไม่ว่าผ่านเวลาไปนานสักแค่ไหน ‘รองเท้า Mary Jane’…

6 days ago

เคล็ดลับ วิธีทากันแดดที่ถูกต้องเพื่อการปกป้องผิวที่แท้จริงและสูงสุด

ครีมกันแดดคือเครื่องมือปกป้องผิวของคุณจากอันตรายจากรังสียูวีได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม คุณคิดว่าที่ทาอยู่คือทาถูกหรือยัง? ที่ทาครีมกันแดดอยู่เพียงพอหรือไม่? รู้หรือไม่ว่าผลการวิจัยบอกว่าคนส่วนใหญ่ทาครีมกันแดดไม่พอ? การทาครีมกันแดดอย่างถูกต้องเป็นกุญแจสำคัญสู่ประสิทธิภาพการปกป้องผิวที่แท้จริงจากแสงแดด ในบทความนี้ เราจะแชร์เคล็ดลับวิธีทากันแดดที่ถูกต้องแบบครอบคลุมทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ เช่น เวลาที่ควรทากันแดด ปริมาณครีมกันแดด ทาครีมกันแดดก่อนหรือหลังครีมบํารุง หรือ ควรทากันแดดทุกกี่ชั่วโมง เพื่อให้ได้การทาครีมกันแดดที่ถูกต้องและเหมาะสม…

6 days ago

รวมลิสต์เบอร์ฉุกเฉิน ควรเซฟติดมือถือให้อุ่นใจทุกสถานการณ์

ใครที่มีแผนกำลังเดินทางไปต่างจังหวัด หรือใช้ชีวิตประจำวันบนท้องถนน อยากจะแนะนำให้เซฟเบอร์โทรฉุกเฉินต่างๆ ไว้ติดมือถือเพราะสถานการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ การเตรียมตัวรับมือไว้ก่อนจะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ต่าง ๆ จากหนักกลายเป็นเบาได้ หากได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็วทำให้มีความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้นซึ่งวันนี้ช้อปปี้ได้รวบรวมลิสต์เบอร์มือถือสำคัญ ๆ ไว้ให้ชาวแอพส้มของเราได้เซฟเก็บไว้อุ่นใจทุกการเดินทางซึ่งจะมีเบอร์ฉุกเฉินไหนบ้าง ไปเริ่มกันเลย!  Cr: freepik ทำไมถึงควรมีเบอร์ฉุกเฉินติดมือถือ  เบอร์ฉุกเฉิน…

6 days ago

ทําความสะอาดเบาะรถยนต์ด้วยตัวเอง ทำอย่างไร ทำตามได้เลยไม่ยาก

การดูแลเบาะรถยนต์ถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษารูปลักษณ์และยืดอายุการใช้งานของรถ เบาะรถยนต์มีหลายประเภท แต่ละประเภทต้องมีวิธีการดูแลรักษาที่แตกต่างกัน คำแนะนำในการทําความสะอาดเบาะรถยนต์และดูแลรถของคุณให้สะอาดและน่านั่งตามวัสดุ และ ตามคราบที่เกิดขึ้น มีดังนี้ เปิดวิธีทําความสะอาดเบาะรถยนต์ เบาะแบบต่างๆ Cr. Unsplash ### 1. วิธีทําความสะอาดเบาะผ้า รถยนต์…

1 week ago

เปิดแหล่งและวิธีทำ QR Code ร้านค้า ฟรี ทำที่ไหนอย่างไร

ทุกวันนี้ทุกคนคงเคยเห็น QR Code มาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง QR Code ร้านค้าที่เราเห็นและแสกนจ่ายกันอยู่ทุกวัน แต่ความจริงแล้ว QR Code มาจากไหน มีประวัติอย่างไร ทำงานยังไง และถ้าเราเป็นร้านค้า…

1 week ago

รวมฤกษ์บวช 2567 สำหรับเตรียมตัวบวชเพื่อพ่อแม่ และตนเอง

Credit : Freepik การบวชนั้น ถือเป็นธรรมเนียมและข้อปฏิบัติอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ที่มีความเชื่อกันว่า ครั้งหนึ่งลูกผู้ชายควรที่จะบวชเพื่อทดแทนบุญคุณของบุพการีที่เลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เด็ก จึงกลายมาเป็นธรรมเนียมที่ผู้ชายนั้นจะบวชในช่วงอายุ 20-25 ปีเพื่อทดแทนบุญคุณให้กับพ่อแม่หรือผู้ปกครองนั่นเอง โดยการบวชนั้น ก็มีการยกเอาเรื่องของฤกษ์ยามมาเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในบทความนี้ Shopee…

1 week ago