Health & Beauty Tips

10 วิธี Home Isolation ทำอย่างไร กักตัวที่บ้านและรักษาตัวเมื่อติดโควิด-19

วิกฤตการแพร่ระบากของเชื้อโควิด-19 นั้นอยู่กับเรายาวนานเกือบ 3 ปีแล้ว แม้ว่าเคสผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่หลายคนเริ่มไม่หวาดกลัวเหมือนช่วงแรกๆ ที่โควิดระบาด เรียกว่าเริ่มปรับตัวเข้ากับโรคระบาดนี้ ผู้ที่ติดเชื้อโควิดและไม่ได้มีอาการรุนแรงจึงเริ่มหันมารักษาตัวที่บ้าน หลายคนอาจสงสัยว่าการทำ Home Isolation ทำอย่างไร วันนี้ Shopee ได้รวบรวมข้อมูลและแนวทางการปฏิบัติในการกักตัวและรักษาที่บ้าน หลังติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้แล้ว ศูนย์ข้อมูล Covid-19 ได้ประกาศว่า คกก.โรคติดต่อแห่งชาติลงมติเห็นชอบที่จะปรับให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น เริ่มอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน 

4 ระยะ การปรับโควิด-19 ให้กลายเป็นโรคประจำถิ่น

  1. ระยะที่ 1 Combatting – เป็นระยะต่อสู้ เพื่อกดไม่ให้ตัวเลขสูงไปกว่านี้ เพื่อทำการลดจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อ
  2. ระยะที่ 2 Plateau – เป็นการคงตัวเลขของผู้ติดเชิ้อในแนวระนาบ จนทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงเรื่อยๆ
  3. ระยะที่ 3 Declining – ทำการลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือเพียงแค่ 1,000 – 2,000 คน
  4. ระยะที่ 4 Post Pandemic – ทำให้โรคระบาดนั้นกลายเป็นเพียงโรคประจำท้องถิ่น

Home Isolation คืออะไร

Home Isolation คือ การดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน โดยสามารถทำกับผู้ป่วยสีเขียวหรือผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการหรือผู้ป่วยโควิด-19 ที่ step down หลังเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลอย่างน้อย 7 วัน จุดประสงค์เพื่อคอยสังเกตอาการและป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง

เกณฑ์ผู้ป่วยโควิด-19 ในการทำ Home Isolation

  1. ผู้ติดเชื้อ แต่ไม่พบอาการ และมีสุขภาพแข็แรง
  2. ผู้ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี
  3. ไม่เป็นโรคอ้วน ซึ่งจะมีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัวมากกว่า90 กก.
  4. ไม่เป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่หมอวินิจฉัยไม่ให้ทำ Home Isolation
  5. ยิมยอมในการกักตัวตามวินัยอย่างเคร่งครัด

10 ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในระหว่างการกักตัว

1. งดการเข้าเยี่ยม

งดการเข้าเยี่ยม ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาที่บ้านหรือห้องที่ผู้ป่วยกำลังกักตัวเด็ดขาด

2. หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน

อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงในการพบปะผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ป่วยเรื้อรัง 

3. ใส่หน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง (Social Distancing)

กรณีที่ยังไอจาม ให้ใส่หน้ากากอนามัย ถึงแม้ว่าอยู่ในห้องส่วนตัว หากมีความจำเป็นในการออกมานอกห้อง หรือ เข้าใกล้ผู้อื่น ให้สวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร หากไอจามควรอยู่ห่างอย่างน้อย 2 เมตร และให้กันหน้าออกทางทิศตรงข้าม

4. ไม่เอามือปิดปากหรือถอดหน้ากากขณะจาม

หากผู้ป่วยไอจามขณะใส่หน้ากากอนามัย ไม่ต้องเอามือปิดปาก และห้ามถอดหน้ากากอนามัยเด็ดขาด เนื่องจากมืออาจจะเปื้อนเชื้อโรค และเสี่ยงที่จะไปจับสิ่งของภายในบ้าน ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดได้

5. ล้างมือและใช้เจลแอลกอฮอล์

ภายหลังการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ ขณะไอจาม หรือหลังปัสสาวะ อุจจาระ ให้ผู้ป่วยล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด ก่อนที่จะจับจุดเสี่ยงที่อยู่ภายในบ้าน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ที่จับตู้เย็น ฯลฯ

6. การทิ้งหน้ากากอนามัย

ควรทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วหรือสารปนเปื้อนอื่นๆ ในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิท ก่อน หลังจากนั้นล้างมือให้สะอาด

7. ห้ามใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

การใช้สิ่งของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดมากที่สุด ดังนั้นจะต้องแยกสิ่งของส่วนตัว ไม่ใช่ของร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น จาม ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

8. ไม่รับประทานอาหารกับผู้อื่น

การรับประทานร่วมกับผู้อื่นเป็นสิ่งต้องห้าม น้ำลายนั้นมีสารปนเปื้อนมากถึง 80% ดังนั้นไม่ควรรับประทานอาหารหรือร่วมโต๊ะอาหารกับผู้อื่นเด็ดขาด

9. ห้ามใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่น

ห้องน้ำนั้นปนเปื้อนไปด้วยสารคัดหลั่งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระและปัสสาวะ ดังนั้นควรแยกห้องน้ำ ไม่ใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่น แต่หากจำเป็นจริงๆ ให้ใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และหลังใช้เสร็จให้ทำความสะอาดห้องน้ำด้วย

10.  ทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว

ซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู และผ้าปูเตียง แยกจากคนในบ้าน โดยใช้ผงซักฟอก ใส่น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น เดทตอล หรือ ไฮเตอร์ และใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มตามปกติ

แม้ว่าผู้ที่สามารถทำ Home Isolation หรือ รักษาตัวที่บ้านได้จะไม่แสดงอาการใดๆ ร่างกายยังแข็งแรง ทราบว่า Home Isolation ทำอย่างไร แล้ว แต่สิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างขาดไม่ได้เลยก็คือ การับประทานอาหารครบ 3 หมู่ และประเมินอาการตัวเองอยู่ตลอดเวลา เช่น วัดไข้ วัดออกซิเจน ทานยาตามที่แพทย์สั่ง และอย่าลืมลงทะเบียน Home Isolation จับคู่สถานพยาบาล ทาง Line Official สปสช. หรือ สแกน QR Code เพื่อรักษาตัวที่บ้าน หากอาการแย่ลง ควรรีบนำส่งพยาบาลทันที แต่ทางที่ดี ควรป้องกันตัวเองแต่เนิ่นๆ เพื่อให้เราต้องได้รับเชื้อโควิด-19 เป็นดีที่สุด เมื่อจำเป็นต้องพบปะผู้คน ควรเช็ค atk ก่อเสมอ อ่านบทความแผนประกันสุขภาพโควิด ได้ที่ Shopee Blog รักษาตัวกันให้ดี เพราะการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ

อ้างอิง:

Shopee TH

Share
Published by
Shopee TH

Recent Posts

ราคาต่อภาษีรถยนต์กับราคาพ.ร.บ. รถยนต์ 2568 ทั้งหมดเท่าไหร่

เริ่มต้นปีใหม่กันแล้ว นอกจากการเช็คสภาพเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่อง การต่อภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นเรื่องที่เจ้าของรถทุกคนต้องทำทุกปีตามกฎหมาย เพื่อให้การขับขี่เป็นไปอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามกฎ วันนี้เรารวบรวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการต่อภาษีและ พ.ร.บ. รถยนต์ รวมถึงเอกสาร ที่ต้องใช้และราคา สำหรับปี 2568 มาให้แล้ว…

2 days ago

การลงทุนไม่ยาก! สิ่งที่คุณต้องศึกษา พร้อมแอปลงทุนแนะนำ

การลงทุนอาจจะฟังดูซับซ้อนสำหรับมือใหม่ แต่หากเราทำความเข้าใจพื้นฐานและเตรียมตัวให้พร้อม ก็จะช่วยให้การลงทุนของเรามีประสิทธิภาพและมั่นคงมากขึ้น! หากคุณกำลังคิดจะเริ่มลงทุน นี่คือสิ่งที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ดี Cr: Freepik สิ่งที่ควรรู้ก่อนลงทุน 1. การตั้งเป้าหมายการลงทุน ก่อนที่จะลงทุนสิ่งแรกที่ต้องทำคือ การตั้งเป้าหมายการลงทุนให้ชัดเจน เช่น ต้องการมีเงินพอสำหรับการเกษียณเดือนละ 20,000…

3 days ago

รวมอุปกรณ์ไอที แกดเจ็ต ของจับฉลาก 500 ที่ใครได้ก็ต้องว้าว !

ช่วงใกล้ถึงเทศกาลปีใหม่ นอกจากของขวัญปีใหม่ที่ผู้คนจะมอบให้แก่กันแล้ว ยังมีของขวัญสำหรับจับฉลากที่หลายคนตามหาอีกด้วย เป็นกิจกรรมสนุก ๆ ในองค์กร บริษัท หรือแม้แต่การจัดงานปีใหม่ในครอบครัว และไอเดียของขวัญจับฉลากที่ Shopee Blog อยากจะแนะนำในปีนี้คือ อุปกรณ์ไอทีและแกดเจ็ตต่าง ๆ เพราะเป็นของที่นำมาใช้งานได้…

6 days ago

รีวิว 10 แผ่นแปะแก้ปวด ยี่ห้อไหนดี ลดอาการปวด กล้ามเนื้ออักเสบ หายปวดเป็นปลิดทิ้ง

อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หนึ่งในปัญหาสุขภาพยอดฮิตของคนในยุคปัจจุบัน และไม่ว่าคุณจะทำอาชีพอะไรก็มีโอกาสปวดเมื่อยตามร่างกายได้ ก็ขึ้นอยู่ว่าจะปวดมากหรือปวดน้อย โดยสาเหตุมาจากการที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หรือที่เราเรียกกันว่าออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งมักพบในกลุ่มวัยทำงาน คนเล่นกีฬา ได้รับบาดเจ็บจากการขยับผิดท่า หรือจากการที่ใช้แรงเยอะจนทำให้ปวดแขนหรือปวดหลังได้ เมื่อมีอาการปวดเมื่อยก็สามารถบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ง่าย…

1 week ago

ป้ายยา 10 ขนมแมวเลียยี่ห้อไหนดี อร่อย ไม่เค็ม ดีต่อสุขภาพ ถูกใจทั้งแมวและทาสแมว!

เจ้าแมวเหมียว เป็นสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักที่นิยมเลี้ยงกันมาก ด้วยเสน่ห์ความน่ารัก ความขี้อ้อน บวกกับขนปุย ๆ ตัวนุ่มนิ่ม เจอเมื่อไหร่ก็อดไม่ได้ที่จะเข้าไปกอดทันที นอกจากนี้ยังสร้างความเพลิดเพลิน และช่วยให้ผ่อนคลายจากความตึงเครียดได้ด้วย การเลี้ยงดูน้องแมวนอกจากให้อาหารแมวเป็นหลักแล้ว ขนมแมว ถือเป็นอาหารว่างที่น้องแมวทุกสายพันธุ์ชื่นชอบ ด้วยรสชาติที่อร่อยและมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพน้องแมวด้วย อีกทั้งการให้ขนมแมวยังเปรียบเสมือนเป็นการให้รางวัลแมวที่ทำตัวน่ารัก…

1 week ago

ออฟฟิศหนาวมาก! จัดเต็มไอเทมแฟชั่นรับมือหน้าหนาวทิพย์แบบชิค ๆ ด้วยไอเทมกันหนาวสุดปัง

ลมหนาวเมืองไทยขึ้นชื่อว่าเอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่ลมหนาวในออฟฟิศนั้นอย่าได้ท้าทาย! เพราะแอร์ออฟฟิศหนาวมาก! สำหรับสาว ๆ ที่อยากเอาอยู่ทั้งลมแอร์และแฟชั่นสาวออฟฟิศ ปีนี้ถึงเวลาสนุกกับการแต่งตัวสไตล์เปรี้ยวซ่าด้วยคอลแฟชั่นฤดูหนาว (ทิพย์) กันแล้ว! มาปรับลุคหาแฟชั่นกันหนาวที่จะเปลี่ยนวันทำงานธรรมดาให้เป็นรันเวย์ย่อม ๆ แล้วมาดูกันเลยว่าสาว ๆ จะมีวิธีแก้หนาวในห้องแอร์พร้อมรับมือหน้าหนาวทิพย์ด้วยแฟชันกันหนาวอะไรได้บ้าง! 1.…

2 weeks ago