mini BOM 2.0 : สำหรับฝ่ายวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์, ระบบ Engineering Change Request, ระบบ Engineering Change Notice
ยังไม่มีคะแนน
เก็บเงินปลายทาง
ค่าจัดส่ง:
฿45
คุณลักษณะ
ประเภทการประกัน,ประเภทซอฟแวร์
รายละเอียด

ซอฟต์แวร์ระบบ Bill of Materials (BOM) ที่ใช้ในฝ่ายวิศวกรรมเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ / ชิ้นส่วน ว่าต้องใช้ชิ้นส่วน วัตถุดิบ วัสดุอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ พร้อมระบุรายละเอียดต่างๆ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการวางระบบการผลิต อีกทั้งยังใช้สำหรับตรวจสอบและควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย, ระบบ Engineering Change Request (ECR) ใช้ในกรณีที่คุณต้องการแจ้งลูกค้าเพื่อขอเปลี่ยนแปลง 4M1E หลังจากที่เคยอนุมัติ PPAP กันไปแล้ว (ถ้าเป็น TS16949), ระบบ Engineering Change Notice (ECN) เป็นจดหมายหรือหนังสือแจ้งจากลูกค้า ว่ามีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นส่วนของลูกค้า ส่วนใหญ่จะเป็น Standard / Spec / Material Spec / Tolerance อีกอย่างหนึ่งลูกค้าจะใช้เมื่อ ยอมรับ ECR ที่เราขอไป เขาก็จะออก ECN มาให้เรา ซึ่งมี 2 อย่าง คือ ลูกค้าเปลี่ยนเอง กับ เราขอลูกค้าเปลี่ยน ทั้ง 3 ระบบทำงานเชื่อมโยงกัน และสามารถแนบไฟล์ drawing / spec / อื่นๆ ในแต่ละ item ของ BOM, ECR และ ECN ได้, สามารถแก้ไขไฟล์แนบต่างๆ จากระบบ miniBOM ได้โดยตรง สามารถตรวจสอบ log ได้ว่าใครเอาแนบไฟล์เข้า, ลบไฟล์แนบออก, เปิดไฟล์แนบเพื่อแก้ไขเมื่อไหร่ (1 เครื่องสามารถล็อกอินได้หลาย user) ระบบออกแบบมาจัดการเรื่อง consistency ของไฟล์แนบได้ดีขึ้น คือลดการสับสนว่าไฟล์ข้อมูลเดียวกันแต่เก็บหลายที่ เมื่อข้อมูลเปลี่ยน จะมีการเปลี่ยนครบทุกไฟล์หรือไม่ ============================== เห็นโครงสร้าง BOM ชัดเจน : โครงสร้าง BOM อยู่ในลักษณะของ tree view ซึ่งช่วยให้เข้าใจองค์ประกอบของชิ้นส่วนและวัสดุได้ง่ายกว่าการแสดงแบบ grid เข้าไปดูรายละเอียดแต่ละโหนดได้ง่าย : สามารถเข้าไปดูรายละเอียดแต่ละโหนดได้โดยการ “ดับเบิ้ลคลิก” ทำให้การตรวจข้อมูล BOM สะดวกและลดเวลาการค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญ มีโครงสร้าง BOM ได้ลึกสุดถึง 9 ชั้น : การที่ระบบมีโครงสร้าง BOM ได้ลึกสุดถึง 9 ชั้น ช่วยให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ / ชิ้นส่วน ที่ซับซ้อนมากสามารถทำได้ที่ miniBOM และในแต่ละชั้นของ BOM สามารถเพิ่มวัสดุ/ชิ้นส่วน ในแนวระนาบ ได้ไม่จำกัด ลากแล้ววางและโหนดได้สะดวก : การที่สามารถลากแล้ววางและโหนด ช่วยให้วิศวกรผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ / ชิ้นส่วน ทำงานได้อย่างคล่องตัวกับโครงสร้าง BOM ที่ซับซ้อน, มีหลายชั้น และมีวัสดุ / ชิ้นส่วนจำนวนมาก เพิ่มโหนดได้ทั้ง “วัสดุ” และ “ชิ้นส่วน” : “ชิ้นส่วน (Part)” คือการนำวัสดุมาประกอบกันหรือผ่านกระบวนการ ซึ่งอาจจะผลิตเองหรือซื้อมาก็ได้ แต่ “วัสดุ (Material)” คือต้องซื้อมาเพียงอย่างเดียว การที่รวมทั้ง “วัสดุ” และ “ชิ้นส่วน” ไว้ในโครงสร้าง BOM เดียว ช่วยลดความซับซ้อนลงได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ภายในชิ้นส่วน ยังสามารถประกอบด้วย “วัสดุ” และ ”ชิ้นส่วน” ได้เช่นกัน แสดงรูปเมื่อเลื่อนไปแต่ละโหนด : การเห็นรูปช่วยให้เข้าใจถูกต้อง ว่ากำลังทำงานหรือตรวจข้อมูลกับ “วัสดุ/ชิ้นส่วน” ไหน ในโครงสร้าง BOM ลดความผิดพลาดจากการเช็คข้อมูลผิดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโครงสร้าง BOM ที่ซับซ้อน ระบบช่วยค้นหาโหนดที่ต้องการ : ในโครงสร้าง BOM ที่ซับซ้อน, มีจำนวนหลายชั้น และมีโหนดจำนวนมาก การค้นหาโหนดที่ต้องการจะช่วยในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ เห็น “จำนวน” ของวัสดุและชิ้นส่วน : ตัวเลขที่อยู่ด้านหน้าของโหนด คือจำนวนวัสดุ/ชิ้นส่วน เช่น “ตัวถังรถ” จะประกอบด้วย “เบาะนั่ง” จำนวน = 4 และ “พวงมาลัย” จำนวน = 1 ดังรูป ซึ่งช่วยให้เข้าใจโครงสร้าง BOM ได้เร็ว ใช้ “สี” แยกแยะระหว่างวัสดุและชิ้นส่วน : ในโครงสร้าง BOM สามารถประกอบด้วย “วัสดุ (Material)” และ “ชิ้นส่วน (Part)” การใช้สีจะช่วยแยกแยะว่าโหนดไหนเป็นอะไร ทำให้เข้าโครงสร้าง BOM ได้เร็ว แนบไฟล์ Drawing หรือไฟล์อื่นๆ ได้ : ในโครงสร้าง BOM สามารถประกอบด้วย “วัสดุ (Material)” และ “ชิ้นส่วน (Part)” การใช้สีจะช่วยแยกแยะว่าโหนดไหนเป็นอะไร ทำให้เข้าโครงสร้าง BOM ได้เร็ว มี Login User ได้หลายคนใน 1 เครื่อง : การมีมี Login User ได้หลายคนใน 1 เครื่อง จะทำให้ใช้งาน miniBOM และเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำงานหลายกะ นอกจากนี้ ยังช่วยแบ่งงานออกแบบผลิตภัณฑ์ / ชิ้นส่วน ให้กับวิศวกรได้หลายๆ คน เก็บประวัติ Log ของไฟล์ที่แนบไว้อยู่ : ในแต่ละ “วัสดุ (Material)” และ “ชิ้นส่วน (Part)” ที่อยู่ในโครงสร้าง BOM สามารถแนบไฟล์ได้ไม่จำกัด และดู Log ที่เกิดขึ้นกับไฟล์เหล่านั้นได้ง่าย ว่าถูกเข้าโดยใคร, ลบเมื่อไร, ถูกแก้ไขโดยใคร เวลาไหน ทุกอย่างสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ไฟล์แนบมีความเป็น Consistency : ไฟล์แนบ 1 ไฟล์ อาจถูกอ้างอิงจากหลายผลิตภัณฑ์ / ชิ้นส่วน ที่อยู่ในโครงสร้าง BOM (ซึ่งอาจจำนวนมากกว่า 100ผลิตภัณฑ์ / ชิ้นส่วน) ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ไฟล์นี้ ก็ไม่จำเป็นต้องไปไล่แก้ไขผลิตภัณฑ์ / ชิ้นส่วน ที่มีจำนวนมากเหล่านั้นทุกตัว (เพราะถ้าแก้ไขไม่ครบ หรือผิดบางตัว ก็จะเกิด hidden problem ซึ่งกว่าจะรู้ตัว ก็อาจสายเกินไป) ทำเป็นระบบ File Sharing ได้ : การใช้งาน miniBOM ใน 1 เครื่องอาจมีจำนวน User ได้หลายๆ คน (ทำงานคนะละกะ) และอาจต้องไฟล์ drawing ร่วมกัน เช่น การแนบไฟล์ vendor criteria ให้กับชิ้นส่วน A และชิ้นส่วน B เมื่อ user1 ที่ดูแล A เข้าไปแก้ไขไฟล์นี้แล้ว ในกะถัดไป user2 ที่ดูแล B ก็จะเห็นที่ log ว่าไฟล์นี้ ได้ถูกแก้ไขโดย user1 ไปแล้ว เป็นต้น มีระบบฐานข้อมูลวัสดุ : ระบบฐานข้อมูลวัสดุ (Material) จะช่วยให้การจัดการต่างๆ ของวัสดุที่อยู่ในโครงสร้าง BOM ทำได้อย่างเป็นระบบ สามารถแนบไฟล์ข้อมูลด้านเทคนิคหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ไม่จำกัด มีระบบฐานข้อมูลลูกค้า : ระบบฐานข้อมูลลูกค้า (Customer) จะช่วยให้การจัดการต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ / ชิ้นส่วนที่เป็น BOM ทำได้อย่างเป็นระบบ สามารถระบุผู้ที่ติดต่อประจำ หรือชื่อผู้บริหารที่สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ และอื่นๆ อีกมาก (เพราะอธิบายได้ไม่เกิน 5,000 ตัวอักษร)

แชทเลย
เพิ่มไปยังรถเข็น
ซื้อสินค้า