3 ตัวเลือกสินค้า
ต้นข้าว ใบไหม้ ใบไหม้ เมล็ดด่าง กำจัดเชื้อรา ในต้นข้าว ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย ศัตรูพืช
ยังไม่มีคะแนน
เก็บเงินปลายทาง
ฟรีค่าจัดส่ง
ค่าจัดส่ง:
฿0
คุณลักษณะ
แบรนด์,ส่งจาก
รายละเอียด

ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน โรคไหม้ (Rice Blast Disease) สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Pyricularia grisea Sacc. ลักษณะอาการ ระยะกล้า ที่ใบมีแผลจุดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล มีขนาดแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมและพันธุ์ข้าว แผลนี้สามารถขยายลุกลามจนแผลรวมกันทั่วบริเวณใบ ในกรณีที่โรครุนแรง กล้าข้าวจะแห้ง และฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ (blast) ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่ใบ กาบใบ ข้อต่อของใบและข้อต่อของลำต้น ขนาดของแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ ที่บริเวณข้อต่อใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และใบมักหลุดจากกาบใบเสมอ ระยะคอรวง เมื่อข้าวถูกเชื้อรานี้เข้าทำลาย จะทำให้คอรวงเสียหายเมล็ดลีบหมด แต่ถ้าเชื้อราเข้าทำลายตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว คอรวงจะปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้เปราะหักพับง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot Disease) สาเหตุ: เชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haan.) ลักษณะอาการ โรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นอาการของข้าวที่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการย่อยสลายของฟางหรือตอซังเก่าที่ยังไม่สมบูรณ์ จะเกิดก็าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ขึ้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าวเกิดอาการรากเน่าดำ ไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารจากดินได้ ต้นข้าวจึงแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ทำให้ข้าวอ่อนแอต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล เชื้อรานี้เข้าทำลายข้าวได้ดีที่อุณหภูมิ 25 – 30 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะเมื่อข้าวเกิดความเครียดจากการขาดน้ำ การพัฒนาของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ดีเมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โรคใบขีดสีน้ำตาล (Narrow Brown Spot Disease) สาเหตุ: เชื้อรา Cercospora oryzae I. Miyake ลักษณะอาการ ลักษณะแผลที่ใบมีสีน้ำตาลเป็นขีด ๆ ขนานไปกับเส้นใบข้าว มักพบในระยะข้าวแตกกอ แผลไม่กว้าง ตรงกลางเล็กและไม่มีรอยช้ำที่แผล ต่อมาแผลจะขยายมาติดกัน แผลจะมีมากตามใบล่างและปลายใบ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตายจากปลายใบก่อน ต้นข้าวที่เป็นโรครุนแรงจะมีแผลสีน้ำตาลที่ข้อต่อใบได้เช่นกัน เชื้อนี้สามารถเข้าทำลายคอรวง ทำให้คอรวงเน่าและหักพับได้ โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight Disease)สาเหตุ: เชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk) ลักษณะอาการ เริ่มพบโรคในระยะแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ปรากฏตามกาบใบ ตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมาก โรคถอดฝักดาบ สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Fusarium fujikuroi Nirenberg ลักษณะอาการ พบมากในระยะกล้า หรือระยะแตกกอข้าวเป็นโรคต้นจะผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่วๆ ไป ต้นข้าวผอมจะมีสีเขียวอ่อนซีด มักย่างปล้อง บางกรณีข้าวจะไม่ย่างปล้องแต่รากจะเน่าช้ำ เวลาถอนมักจะขาดตรงบริเวณโคนต้น ถ้าเป็นรุนแรงกล้าข้าวจะตาย หากไม่รุนแรงอาการจะแสดงหลังจากย้ายไปปักดำได้ 15 –45 วัน โดยที่ต้นเป็นโรคจะสูงกว่าต้นปกติ ใบมีสีเขียวซีด เกิดรากแขนงที่ข้อลำ บางครั้งพบกลุ่มเส้นใยสีชมพูตรงบริเวณข้อที่ย่างปล้องขึ้นมา ต้นข้าวที่เป็นมักจะตาย และมีน้อยมากที่จะอยู่รอดจนถึงออกรวง โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease) สาเหตุ: เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed. Cercospora oryzae I.Miyake. Helminthosporium oryzae Breda de Haan. Fusarium semitectum Berk&Rav. Trichoconispad wickii Ganguly. Sarocladium oryzae Sawada. ลักษณะอาการ ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย ''การควบคุมประจุไฟฟ้า'' สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว ขนาด 1 ลิตร อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้.. เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

แชทเลย
เพิ่มไปยังรถเข็น
ซื้อสินค้า