3 ตัวเลือกสินค้า
ถั่วเหลืองใบไหม้ ใบจุด กำจัดโรคถั่วเหลือง จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
เก็บเงินปลายทาง
ฟรีค่าจัดส่ง
ค่าจัดส่ง:
฿0
คุณลักษณะ
แบรนด์,ส่งจาก
รายละเอียด

ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน โรคใบจุดนูน (Bacterial pastule) พบระบาดในฤดูฝน เชื้อสาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. glycines ลักษณะอาการ อาการจุดแผลเล็ก ๆ สีน้ำตาลแดงบนใบถั่วเหลือง คล้ายโรคราสนิมของถั่วเหลือง แต่มักมีวงสีเหลืองล้อมรอบ อาการของโรคเมื่อเกิดใหม่ ๆ จะเป็นตุ่มฉ่ำน้ำเล็ก ๆ ใส สีเขียวอ่อน บนบริเวณใบอ่อนที่เกิดใหม่ ต่อมาจุดฉ่ำน้ำแห้งและยุบตัวลงเป็นแผลแห้งตกสะเก็ด พบอาการได้บนกิ่งก้านและขั้วใบทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด รอยแผลที่เกิดติดต่อกันบนใบทำให้ใบฉีกขาดเป็นช่องทางให้เชื้อราอื่น เช่น เชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนสเข้าซ้ำเติมบนใบพืชได้ง่าย โรคราสนิม (soybean rust) พบระบาดในฤดูฝน เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Phakopsora pachyrhizi ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกพบบนใบจริงคู่แรกเมื่อถั่วเหลืองอยู่ในระยะฝักอ่อน โดยพบเป็นแผลจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลแดง ใต้ใบมีขุยสีน้ำตาลแดงของสปอร์ของเชื้อราคล้ายสีสนิม สปอร์จะฟุ้งขึ้นไปยังส่วนบน ๆ ทำให้ใบแห้งเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาลใบร่วงก่อนกำหนด ฝักลีบเล็กและผลผลิตลดลง 20-80 เปอร์เซ็นต์ โรคเน่าดำ (Charcoal rot) พบระบาดในฤดูฝน เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Macrophomina phaseolina ลักษณะอาการ เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดหรืออาศัยในดินจะงอกเข้าในต้นพืชได้ตั้งแต่ระยะกล้า และเจริญเติบโตในส่วนของท่อลำเลียงน้ำและอาหารของพืชได้นาน จนถึงระยะต้นถั่วเหลืองติดฝักและระยะสร้างฝัก เชื้อราจะผลิตเมล็ดสเคอโรเตียมลักษณะคล้ายผงถ่านในบริเวณส่วนที่อาศัยอยู่ทำให้เกิด การอุดตันของท่อลำเลียงเป็นสาเหตุของการเหี่ยวและแห้งตาย ลักษณะการเหี่ยวจะค่อย ๆ เกิดทีละน้อย โดยในระยะเริ่มต้นของการเหี่ยวจะสังเกตได้ยากมักพบอาการเมื่อต้นถั่วเหลืองแสดงอาการใบเหลือง ปลายใบแห้งและยืนต้นตาย พันธุ์ถั่วเหลืองที่อ่อนแอจะแสดงการเหี่ยวและตายตั้งแต่ระยะเมล็ดยังไม่เต็มฝัก ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก พันธุ์ถั่วเหลืองค่อนข้างต้านทานจะพบว่าเมล็ดเล็กลงและผลผลิตลดลง โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) พบระบาดในฤดูฝน เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Colletotrichunm dematum ลักษณะอาการ โดยทั่วไปพบอาการบนใบและฝัก อาการที่พบบนใบในระยะแรกพบแผลจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตร แผลจุดจะมีวงสีเหลืองล้อมรอบและเรียงต่อกันเป็นจุดประแตกไปตามเส้นกลางใบ เส้นแขนงและกระจัดกระจายไปตามพื้นที่ใบเป็นกลุ่ม ๆ คล้ายรอยเปรอะเปื้อนของน้ำหมากทำให้พื้นที่ใบซีดเหลือง (Chlorosis) ถ้าสภาพกาอากาศร้อนชื้น จะพบแผลจุดเกิดขึ้นที่กิ่งก้านและลำต้นเชื้อที่เข้าทำลายเส้นกลางใบของใบอ่อน จะทำให้ใบย่นหงิกงอเนื่องจากเส้นกลางใบถูกทำลายไม่ยืดตัว จึงทำให้ส่วนของพื้นที่ใบที่ขยายตัวไปหงิกงอ อาการที่พบบนฝักจะเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลเรียงต่อกัน เป็นรอยขีดบนฝักหรือเป็นกลุ่ม เมื่อแผลได้รับความชื้นสูง จะแผลจะขยายใหญ่ เป็นวงซ้อนกัน และพบ canidia และ acervuli เกิดขึ้นบนรอยแผลนั้น เมล็ดในฝักจะลีบและย่น โรคใบจุดวง (Target spot) พบระบาดในฤดูฝน เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Corynespora casiicola ลักษณะอาการ พบรอยแผลเป็นจุดวงซ้อน ๆ กัน ขนาดค่อนข้างใหญ่บนใบถั่วเหลืองใบล่าง ๆ โดยเฉพาะในพุ่มของทรงต้น อาจพบเชื้อสาเหตุได้บนกิ่ง ลำต้นและฝัก โรคเมล็ดสีม่วง (Purple seed stain) พบระบาดในฤดูฝน เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Cercospora kikuchii ลักษณะอาการ อาการบนเมล็ดมีสีชมพู ม่วง ถึงม่วงเข้ม ทั่วไปบนผิวเปลือกของเมล็ด ถ้ารอยสีม่วงครอบคลุมเกินครึ่งหนึ่งของพื้นผิวเมล็ด เมล็ดถั่วเหลืองจะเสียความงอก แต่ถ้าพบเพียงส่วนน้อยเมล็ดจะสามารถงอกได้แต่ต้นกล้าจะไม่แข็งแรง และเป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อราสาเหตุได้ ต่อไปอาจพบว่าเปลือกเมล็ดมีรอยแตกซึ่งจะทำให้เชื้อราชนิดอื่นเข้าทำลายได้ง่ายไม่เหมาะที่จะใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) พบระบาดในฤดูแล เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora manshurica ลักษณะอาการ อาการจุดฉ่ำน้ำสีเขียวอ่อน ที่พบบนใบเริ่มตั้งแต่ใบจริงคู่แรกเมื่อต้นถั่วเหลืองงอกได้ประมาณ 15 วัน เกิดจากเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด เชื้อราผลิตเส้นใยฟูใต้รอยแผลทางด้านใต้ใบสีขาวปนเทาและสร้างส่วนขยายพันธุ์เป็นสปอร์ใส ไม่มีสี สปอร์ของเชื้อรานี้จะระบาดขึ้นใบยังใบอ่อนที่เกิดขึ้นใหม่ การระบาดเกิดขึ้นได้ดีในสภาพอากาศเย็นและชื้น รอยแผลที่เก่ามากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเป็นสีน้ำตาลแห้งกรอบ ใบจะร่วงเร็วกว่าปกติ ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย ''การควบคุมประจุไฟฟ้า'' สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว ขนาด 1 ลิตร อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน ไอเอส 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้.. เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

แชทเลย
เพิ่มไปยังรถเข็น
ซื้อสินค้า