วันวิสาขบูชา เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญทางพุทธศาสนา ซึ่ง วันวิสาขบูชา 2564 ตรงกับวันพุธ ที่ 26 พฤษภาคม 2564 หรือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการของไทย
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
วันวิสาขบูชามีความสำคัญอย่างไร ?
ทำไมวันวิสาขบูชาถึงเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาจนถึงขนาดที่ประเทศที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักของประเทศต้องประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ เนื่องจากวันวิสาขบูชาเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนา คือเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ทำให้ประชุมสมัชชาสหประชาชาติยกย่องให้เป็น “วันสำคัญสากล” (International Day) เพื่อให้พุทธทุกขนิกายสามารถจัดพิธีทางพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่
ความหมายของวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Vesak Day ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ส่วนคำว่า “วิสาขบูชา” ในภาษาไทยนั้นแต่เดิมถูกดัดแปลงมามาจากคำว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” ซึ่งมีความหมายว่าการบูชาในวันเพ็ญเดือน “วิสาขะ” หรือก็คือเดือน 6 ในปฏิทินจันทรคตินั่นเอง
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันวิสาขบูชา
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
พระนางสิริมหามายา(พระมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ (พระบิดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)แห่งกรุงกบิลพัสดุ ทรงแปรพระราชฐานเพื่อไปประทับ ญ กรุงเทวะหะ เพื่อให้ประสูติพระโอรสตามธรรมเนียนและประเพณีนิยมในสมัยนั้น
เช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ขณะที่เดินทางพระนางสิริมหามายาเกิดประชวรพระครรภ์จะประสูติ จึงเสด็จแวะใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน และให้ได้ประสูติพระโอรสในท่ายืนพระหัตถ์จับกิ่งต้าละ ซึ่งได้สร้างความตกใจให้กับเหล่าบริวารนางสนมที่มารับใช้ พระโพธิสัตว์ได้พระดำเนินไป 7 ก้าว พร้อมเปล่งอาสภิวาจา ว่า
“ เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก, เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก, เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก. ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย. บัดนี้ ภพใหม่ย่อมไม่มี ดังนี้”
ซึ่งทำให้การประสูติครั้งนี้ถือเป็น บุรพนิมิตแห่งพระบรมโพธิญาณ
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
หลังจากที่ออกเสด็จผนวชได้ 6 ปี เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใต้ต้นโพธิ์ ในช่วงเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ซึ่งพระธรรมที่ทรงตรัสรู้คือ อริยสัจ 4 หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน
หลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้และบำเพ็ญเพียรเป็นระยะเวลากว่า 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา จึงได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก เมื่อถึงยามสุดท้าย พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
“ภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่น ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
และทรงเสด็จเข้าดับขันปรินิพพานในวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)
Credit : Sarah Ball / Unsplash
หน้าที่ของพุทศาสนิชนในวันวิสาขบูชา
พุทธศาสนิกชนทั่วไปมักจะทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ฟังพระธรรมเทศนา สวดมนต์ หรือเวียนเทียนในช่วงเย็น ทางราชการประกาศชักชวนให้ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ประดับอาคารด้วยธงชาติ ธงเสมาธรรมจักร และ จุดประทีบโคมไฟ ในวันขึ้น 14-16 ค่ำ เดือน 6
ในวันวิสาขบูชาของทุกปี พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จประกอบพระราชกุศล ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงบาตรในตอนเช้า ในตอนเย็นทรงนำเวียนเทียนรอบพระอุโบสถและสดับพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ พร้อมทั้งถวายไทยธรรม