จากล่าสุดมีการเปิดเผยประสิทธิภาพเบื้องต้นหลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็ม 3 ไปแล้วจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 56% และเมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้ว 3 – 4 เดือน ภูมิคุ้มกันก็จะตกลงไม่ว่าจะฉีดวัคซีนสูตรใดหรือเป็นวัคซีนชนิดใดก็ตาม ดังนั้น นั่นหมายความว่าเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันโควิดอย่างต่อเนื่องจึงจะต้องมีการฉีดวัคซีนเข็ม 4 ซึ่งก็ยังมีเงื่อนไขและ สูตรวัคซีนเข็ม 4 สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนไปแล้วตั้งเข็ม 1 – 3 ให้เลือกได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ควรมีการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกัน
- สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ขึ้นไปเป็นการติดตามระดับภูมิต้านทานหลังจากจากที่ได้รับวัคซีนไปแล้วโดยส่วนใหญ่จะตรวจเมื่อได้รับวัคซีนไปแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ขึ้นไป
- สำหรับผู้ติดเชื้อ เพื่อติดตามการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานหลังจากที่ได้มีการติดเชื้อ COVID-19 โดยสามารถตรวจได้หลังการติดเชื้อผ่านไปแล้ว 4 สัปดาห์
- ก่อนการเข้ารับวัคซีนโควิด-19 เป็นการตรวจหาระดับภูมิต้านทานก่อนรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งอาจเคยได้รับเชื้อแบบไม่มีอาการหรือผ่านการทำ Home Isolation มาแล้ว
วิธีการตรวจภูมิคุ้มกันโควิด มีกี่แบบ
- การตรวจ Binding Antibody (Bab) โดยจะทดสอบแอนติบอดีที่
- ที่มีการสร้างขึ้นเองหลังจากได้รับวัคซีน หรือหลังจากได้รับเชื้อ โดยการจับกันอย่างจำเพาะระหว่างแอนติบอดีกับแอนติเจนของเชื้อ ซึ่งจะทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิต้านทานที่มีให้มากำจัดไวรัส โดยจะแบ่งชุดตรวจแอนติบอดีแบบนี้ออกเป็น 3 ชนิด คือ
- Rapid antibody test เป็นชุดตรวจหาแอนติบอดีแบบรวดเร็ว
- Enzyme Linked Immunosorbent Assay (ELISA)
- Chemiluminescence Immunoassay (CLIA)
- การตรวจวัดระดับภูมิต้านทานการติดเชื้อโควิด-19 (SARS-CoV Neutralizing Antibody(Nab)) เป็นวิธีที่ซับซ้อน และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการเพาะเลี้ยงเซลล์และไวรัส เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีน และยังได้การรับรองจากทาง อย. และ US-FDA มีระยะเวลาการรอผลตรวจประมาณ 3 วันทำการ
วัคซีนสูตรไขว้ คืออะไร
วัคซีนสูตรไขว้ จะเป็นวัคซีนสลับชนิด ซึ่งจะใช้ในการฉีดเข็มที่ 2 และเข็มที่ 3 รวมไปถึงวัคซีนเข็ม 4 เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสโควิดให้มีมากขึ้น ซึ่งจะดีกว่าการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกัน 2 เข็มติดต่อกัน และอีกแนวทางเพื่อเป็นการช่วยแก้ปัญหาสำหรับบางประเทศที่มีวัคซีนป้องกันโควิดไม่เพียงพอ ซึ่งก็มีหลายประเทศที่ใช้วัคซีนสูตรไขว้นี้ รวมถึงในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
วัคซีนสูตรไขว้ หรือวัคซีนสลับสูตรดีจริงไหม?
จากงานวิจัยในต่างประเทศซึ่งมีอาสาสมัครเข้าร่วมมากถึง 800 คน โดยการได้รับวัคซีนเข็มที่ 1เป็นแอสตราเซเนกา และเข็มที่ 2 เป็นไฟเซอร์ ปรากฏว่ามีความปลอดภัยและมีแนวโน้มเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันได้มากกว่าการใช้วัคซีนแอสตราเซเนกา 2 เข็ม
- วัคซีนแอสตราเซเนกา เข็มที่ 1+ไฟเซอร์ เข็มที่ 2 ผลการตอบสนองของ T Cell มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการผสมสูตรแบบอื่นๆ
- ผลการศึกษาของวารสารแลนเซ็ต (Lancet) วัคซีนสูตรไขว้ระหว่างวัคซีนแอสตราเซเนกากับวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) สามารถกระตุ้นการภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นได้
- หลังการวัคซีนแอสตราเซเนกาครบ 2 เข็ม อาจต้านเชื้อโควิดได้น้อย ซึ่งมีหลายประเทศกำลังศึกษาผลลัพธ์ที่ชัดเจนสำหรับวัคซีนสูตรไขว้ หรือเข็มที่ 2 ขึ้นไป
- ส่วนองค์การอนามัยโลก (WHO) ปัจจุบันยังไม่มีประกาศในเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนสูตรไขว้ แต่ระมัดระวังความปลอดภัยสำหรับบางบุคคล
วัคซีนเข็ม 4 ดีไหม และวัคซีนเข็ม 4 ควรฉีดเมื่อไหร่
สำหรับวัคซีนเข็ม 4 ที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้มีการฉีดเพิ่ม และจะเป็นไปตามสูตรวัคซีนเข็ม 4 ที่มีการแนะนำว่าจะทำให้มีภูมิคุ้มกันเพิ่มกว่าการฉีดวัคซีนติดต่อกันเป็นแบบชนิดเดียวกัน
เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนยังกังวล เพราะคนไทยก็ทยอยฉีดวัคซีนเข็ม 3 เป็นบูสเตอร์โดสเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันสู้โควิดสายพันธุ์โอมิครอน ก็ยังมีคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขให้เดินหน้าฉีดวัคซีนเข็ม 4 ในกลุ่มเสี่ยงรวมทั้งประชาชนทั่วไปในบางพื้นที่เพิ่มเติมอีก
- เป็นที่รู้กันแล้วว่าการฉีดวัคซีนโควิดจะทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสอยู่แค่ระยะหนึ่งเท่านั้น และเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน ภูมิคุ้มกันนั้นจะค่อย ๆ ลดลง นี่จึงเป็นเหตุที่มีการแนะนำให้ต้องฉีดวัคซีนโควิด เข็ม 3 เข็ม 4 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น
- ในปัจจุบันมีเชื้อไวรัสโควิดทั้งสายพันธุ์เก่าและใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้เรื่อย ๆ จึงมีคำแนะนำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด ควรฉีดวัคซีนเข็ม 4 เป็นสูตรวัคซ๊นเข็ม 4 เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้องมีระยะห่างจากวัคซีนเข็มที่ 3 ไปแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน
สูตรวัคซีนเข็ม 4 ที่แนะนำให้ฉีด


สำหรับการฉีดวัคซีนเข็ม 4 ควรจะต้องให้มีระยะเวลาห่างจากวัคซีนเข็ม 3 ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป และได้มีการแนะนำสูตรที่เหมาะสมให้ นอกจากนี้ยังเป็นสูตรทางเลือกที่ประชาชนสามารถจะเลือกรับบริการได้อย่างเหมาะสม
- สูตรวัคซีนเข็ม 4 สูตร 1
- เข็มที่ 1 ซิโนแวค / ซิโนฟาร์ม
- เข็มที่ 2 ซิโนแวค / ซิโนฟาร์ม
- เข็มที่ 3 แอสตร้าเซนเนก้า
- เข็มที่ 4 แอสตร้าเซนเนก้า
- สูตรวัคซีนเข็ม 4 สูตร 2
- เข็มที่ 1 ซิโนแวค / ซิโนฟาร์ม
- เข็มที่ 2 ซิโนแวค / ซิโนฟาร์ม
- เข็มที่ 3 ไฟเซอร์
- เข็มที่ 4 ไฟเซอร์
- สูตรวัคซีนเข็ม 4 สูตร 3
- เข็มที่ 1 ซิโนแวค / ซิโนฟาร์ม
- เข็มที่ 2 แอสตร้าเซนเนก้า
- เข็มที่ 3 แอสตร้าเซนเนก้า
- เข็มที่ 4 ไฟเซอร์
- สูตรวัคซีนเข็ม 4 สูตร 4
- เข็มที่ 1 แอสตร้าเซนเนก้า
- เข็มที่ 2 แอสตร้าเซนเนก้า
- เข็มที่ 3 ไฟเซอร์
- เข็มที่ 4 ไฟเซอร์
วัคซีนเข็ม 4 ลงทะเบียนที่ไหนได้บ้าง
เมื่อทุกคนรู้แล้วว่าวัคซีนเข็ม 4 มีดีอย่างไร และทำไมจึงต้องฉีดสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยง ต้องทำงานหรือต้องอยูใกล้ สัมผัสกับกลุ่มบุคคลหลากหลาย เช่นกลุ่มอาชีพบริการ การท่องเที่ยว ร้านอาหาร เหล่านี้ ล้วนจำเป็นต้องมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อสามารถจะป้องกันเชื้อไวรัสโควิดที่มีการกลายพันธุ์


1. โรงพยาบาลสวนเบญจกิติเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ฉีดวัคซีนเข็ม 3 เข็ม 4
เปิด Walk in ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มกระตุ้น เข็ม 3 และวัคซีนเข็ม 4 ฟรี เฉพาะผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.00-14.30 น. หรือจนกว่ายาจะหมด เพียงนำบัตรประชาชน หรือพาสปอร์ต มาด้วยในวันที่เข้ามารับบริการ


2. มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดวัคซีนเข็ม 4 ลงทะเบียนฉีดวัคซีน โมเดอร์นา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดบริการ Walk In สำหรับประชาชนทั่วไป รวมถึงญาติและบุคลากรทางการแพทย์ของคณะฯ สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา ได้ที่หน่วยฉีดวัคซีนโควิด-19 ณ หอประชุมราชแพทยาลัย ระหว่างเวลา 8.30-14.30 น. โดยจะให้บริการได้วันละ 1,400 คน ตามวันและเวลาดังรายละเอียด มีแจ้งดังนี้
- วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 และวันที่ 8 มิถุนายน 2565 สำหรับบุคคลที่ต้องการวัคซีนโมเดอร์นา แบบเต็มโดส
- วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เปิดให้สำหรับบุคคลที่ต้องการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาแบบครึ่งโดส


3. ศูนย์ฉีดวัคซีน กทม.
ศูนย์ฉีดวัคซีน อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น )เขตดินแดง เปิด Walk In สำหรับประชาชนทั่วไปและทุกสัญชาติที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. ทุกวันไม่จำกัดจำนวน โดยจะเริ่มเปิดให้บริการทุกวัน นอกจากนี้ยังเปิดให้มีการลงทะเบียนผ่านแอปเพื่อเลือกจุดรับบริการทที่สะดวกได้
- ธัญญาพาร์ค
- Central พระราม 3
- Central ปิ่นเกล้า
- Central อีสวิลล์
- โรบินสัน ลาดกระบัง
วัคซีนเข็ม 4 ลงทะเบียน 3 ช่องทาง
- ลงทะเบียนผ่านแอป QueQ
- ลงทะเบียนแบบกลุ่ม ผ่าน Google Form
- Walk In ได้ทุกวัน 08.00-16.00 น. ไม่จำกัดจำนวน


4. นนทบุรี นนท์พร้อม พลัส Go abrord ฉีดวัคซีนเข็ม 3-4
เปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 เป็นเข็มกระตุ้นสำหรับบุคคลทั่วไปและทุกสัญชาติ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่มีความประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศ และสำหรับเด็กนักเรียน ที่มีอายุ 12 – 17 ปี ที่ประสงค์ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ Booster ฝาม่วง เข็ม 3 เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการไปโรงเรียน โดยสามารถลงทะเบียนผ่านแอป และสำหรับคนที่ไม่สามารถจะลงทะเบียนได้ก็เพียงเตรียมเอกสารแล้ว Walk In เข้าไปตามสถานที่เตรียมไว้ให้ได้ทั้ง 3 จุด
- เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ วันที่ 6, 14 และ 21 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00-15.00 น. รับบัตรคิวที่อาคารจอดรถ B ชั้น 3 ครึ่ง
- เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ วันที่ 1, 2, 17 และ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00-15.00 น. และเฉพาะวันที่ 1 และ 2 มิถุนายน 2565 เปิดบริการวัคฉีดถึง 18.00 น.
- บุคคลทั่วไป ให้รับบัตรคิวที่หน้าลานจอดรถ ชั้น 3
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้พิการ ผู้ใช้รถเข็น ให้เข้าประตูทางเข้าห้างท็อปส์ ด้านหลังห้างจากนั้นขึ้นลิฟต์หรือบันไดเลื่อนมาที่ชั้น 2 รับบัตรคิวหน้าจุดฉีดวัคซีน
- เซ็นทรัล เวสต์เกต วันที่ 9, 16 และ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00-15.00 น. รับบัตรคิวที่ลานจอดรถ 2C


5. สถาบันราชประชาสมาสัยเปิด Walk-in ฉีดวัคซีนเข็ม 3 และวัคซีนเข็ม 4
สมุทราปราการเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายประจำเดือนมิถุนายน 2565 โดยเป็นแบบ Walk in สำหรับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในวันที่ 6, 13, 20 และ 27 มิถุนายน 2565 โดยเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 150 คนต่อวัน และวัคซีนไฟเซอร์ 35 คนต่อวัน ณ คลินิกวัคซีน ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันราชประชาสมาสัย
หลักฐานที่ต้องใช้แสดง
- บัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริง
- นำเอกสารจากหมอพร้อม หรือหากมีใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 (กรณีเคยได้รับวัคซีน)
- ใบรับรองแพทย์ (กรณีสำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน)
- ชาวต่างชาติ ให้นำพาสปอร์ต หรือบัตรชมพู แสดงหลักฐาน และให้มีล่ามมาด้วย


6. โรงพยาบาลบางจากเปิด Walk-in ฉีดวัคซีนเข็ม 3-4
โรงพยาบาลบางจากเปิด Walk-in สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้สำหรับคนที่ไม่สะดวกที่จะลงทะเบียน โดยจะมีการจัดขึ้นในวันที่ 2, 9-10, 16-17 มิถุนายน 2565 จำนวน 200 คิว/วัน เริ่มรับบัตรคิว เวลา 12.00 น.เป็นต้นไป
7. สถาบันราชานุกูล
สถาบันราชานุกูลเปิดให้บริการแบบ Walk In เพื่อรับบริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ โดยให้บริการกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 11 ปี จะเป็นวัคซีนไฟเซอร์ (ฝาสีส้ม) และวัคซีนไฟเซอร์ (Booster) เข็ม 3 และ 4 สำหรับบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ทุกวันพุธโดยเริ่มตั้งแต่วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 สามารถจะเข้ารับบัตรคิวได้ตั้งแต่เวลา 12.30-14.00 น. โดยให้บริการวันละ 50 คน ณ อาคารผู้ป่วยนอกใหม่ ชั้น 1 สถาบันราชานุกูลแบบไม่มีค่าใช้จ่าย
หลักฐานที่ต้องใช้แสดง
- บัตรประชาชน สูติบัตร หรือเอกสารแสดงเลขบัตรประจำตัว 13 หลัก หรือพาสปอร์ต (สำหรับชาวต่างชาติ)


8. โรงพยาบาลนครปฐม อุทยานการอาชีพชัยพัฒนาเปิด Walk-in ฉีดวัคซีน
โรงพยาบาลนครปฐมเปิด Walk In สำหรับบุคคลทั่วไป ณ อุทยานการอาชีพชัยพัฒนาเพื่อฉีดวัคซีนเข็มที่ 1, 2, 3 และวัคซีนเข็ม 4 โดยจะเริ่มฉีดในวันที่ 8, 15, 22 และ 29 มิถุนายน 2565 เวลา 08.00-14.00 น. สำหรับทุกท่านที่มารับบริการฉีดวัคซีนต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง
9. โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการ Walk in ฉีดวัคซีน Pfizer เข็มที่ 1 – 3 สำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 18 ปี และเข็มที่ 2 – 4 สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และ AstraZeneca เข็มที่ 1 สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 59 ปี โดยเริ่มฉีดตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน เป็นต้นไป ยกเว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00-11.00 น.
10. โรงพยาบาลศิริราชเปิด Walk-in
โรงพยาบาลศิริราช เปิด Walk In สำหรับประชาชน บุคลากรทางการแพทย์เพื่อเข้ารับฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัทไฟเซอร์ ที่หอประชุมราชแพทยาลัยตามสูตรวัคซีนเข็ม 4 สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป หรือสำหรับคนที่ต้องการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1, 2, 3 ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข โดยฉีดในวันที่ 2, 10, 17, 24 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.30-14.30 น.
อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเข้ารับวัคซีนเข็ม 1, 2, 3 รวมไปถึงวัคซีนเข็ม 4 ซึ่งมีสูตรวัคซีนเข็ม 4 เป็นไปตามกระทรวงคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข จำเป็นจะต้องให้แน่ใจว่าไม่ได้มีการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยสามารถจะทำการตรวจโควิดด้วยตัวเองได้ด้วยชุดตรวจ ATK ซึ่งจะแตกต่างจากการตรวจหาภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีน หรือหลังจากได้รับเชื้อโควิด-19 และรักษาตัวหายดีแล้ว
ข้อมูลอ้างอิง : กรุงเทพธุรกิจ / Thaihealth / Phyathai / Cigna