สังคมไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ ความสามารถในการรักษา และการคิดค้นยาที่ดีจึงทำให้คนเรามีอายุยืนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ หลาย ๆ ครอบครัวจึงเริ่มให้ความสนใจกับการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อให้ท่านมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและอยู่กับครอบครัวไปนาน ๆ ดังนั้น วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่า ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายยังไง ถึงจะดี ปลอดภัย และทำให้สุขภาพแข็งแรง อยู่ด้วยกันไปนานๆ


หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายยังไง ให้แข็งแรงควบคู่กับความปลอดภัย
นอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีแล้ว การดูแลเรื่องสมรรถภาพความแข็งแรงของร่างกายก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการออกกำลังกายนั้นสามารถชะลอการเสื่อมของร่างกายได้ ขอแนะนำการออกกำลังสไตล์ผู้สูงอายุ ที่จะมอบสุขภาพที่แข็งแรงให้ โดยที่ไม่ต้องบาดเจ็บ จะมีอะไรบ้างตามมาดูกันได้เลย
การเล่นโยคะ
โยคะคือการออกกำลังกายที่ผสมผสานการควบคุมลมหายใจให้เข้าจังหวะกัน พร้อมกับทำท่าบริหารตามตำราโยคะ โดยเป็นท่าที่ไม่ทำให้เกิดแรงกระแทกกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากจนเกินไป แต่จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่น แข็งแรงและส่งผลดีต่อระบบอวัยวะภายในต่างๆ ด้วย ทั้งนี้ต้องเลือกผู้ฝึกที่เหมาะสม มีความเข้าใจกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ รวมถึงสถานที่เล่นโยคะที่เหมาะสมและปลอดภัย
ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายยังไง ด้วย การเดิน
การเดินเป็นวิธีการออกกำลังกายแบบเบา ๆ ง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ (แต่ต้องระวังในกรณีผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับเท้าและข้อ) การเดินเร็วจะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยให้เลือดสูบฉีดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้ดีขึ้น การเดินออกกำลังที่ดีควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้
- เดินในบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ร่มรื่น กว้างขวางและโล่ง เพื่อลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ
- มีเพื่อนเดิน ช่วยให้บรรยากาศสนุกสนาน ผ่อนคลายมากขึ้น อาจชวนสมาชิกในครอบครัวไปเดินด้วย จะได้ช่วยระมัดระวังด้วย


กายบริหาร / เต้นแอโรบิก
ถามว่า ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายยังไง ให้สนุก คำตอบง่ายๆคือ ออกกำลังกายด้วยการทำท่ากายบริหารง่าย ๆ ที่ไม่ทำให้เกิดแรงกระแทก (ไม่ต้องกระโดดหรือใช้แรงเหวี่ยงแรง ๆ) หรือการเต้นแอโรบิกให้เข้าจังหวะกับเสียงเพลง ซึ่งจะช่วยบริหารกล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วนในร่างกายไปพร้อม ๆ กัน แต่ควรเลือกท่ากายบริหารที่ไม่รุนแรงจนเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงการบาดเจ็บ และควรควบคุมเวลาในการออกกำลังกายให้เหมาะสมตามสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ
การวิ่งเหยาะ ๆ
ผู้สูงอายุท่านใดที่ไม่มีปัญหาหรือบาดเจ็บบริเวณข้อเข่าและข้อเท้า ก็สามารถออกกำลังกายโดยการวิ่งเหยาะ ๆ ได้ ซึ่งการวิ่งเหยาะ ๆ จะต่างจากการเดินเร็วตรงที่ การวิ่งจะมีช่วงหนึ่งที่เท้าไม่แตะพื้นและมีแรงผลักจากเท้ามากกว่า เพื่อการวิ่งอย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงบาดเจ็บ ควรเลือกสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับการวิ่ง


ออกกำลังกายอย่างปลอดภัยและสนุก สไตล์ผู้สูงอายุ
ขอแนะนำแนวทางการออกกำลังสำหรับผู้สูงอายุที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้
- ในช่วงเริ่มต้นให้ค่อยๆ ทำ หากเพิ่งเริ่มออกกำลังกายให้ศึกษาวิธีการออกกำลังให้ดีก่อน และเริ่มด้วยการออกกำลังเบา ๆ ใช้เวลาไม่นาน อย่าหักโหมจนเกินไป
- หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อลดความเสี่ยงเจ็บป่วย
- การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ทำเพื่อดูแลสุขภาพของตนเอง ไม่ใช่การแข่งขัน ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ออกกำลังกายเท่าที่ร่างกายรับไหว
- ระหว่างที่ออกกำลังกาย ควรมีครอบครัวดูแลอยู่ใกล้ ๆ เพื่อช่วยระมัดระวังอุบัติเหตุ
- เพื่อสุขภาพที่ดี ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง ครั้งละ 40-60 นาที
- เมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกหน้ามืด หรือหัวใจสั่นผิดปกติ หายใจไม่ทัน ให้ชะลอการออกกำลังกายลงก่อนและหยุดพัก
- ชวนสมาชิกในครอบครัวมาออกกำลังกายพร้อม ๆ กัน หรือออกกำลังกายพร้อมกับเพื่อน ๆ เป็นหมู่คณะ เพื่อสร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน
ให้ประกันสุขภาพช่วยดูแลคนที่คุณรัก
ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ หรือผู้สูงอายุในครอบครัวท่านอื่น ๆ ก็ล้วนแต่เป็นบุคคลที่เราควรให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพของท่าน นอกเหนือจากการออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การรับความคุ้มครองจากประกันสุขภาพ ก็เป็นอีกทางเลือกช่วยรองรับความเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยจะทำประกันให้แม่ ให้พ่อ หรือผู้สูงวัยท่านอื่น ๆ ในครอบครัว เพื่อช่วยดูแลกันให้มากขึ้น ก็สามารถเลือกแผนความคุ้มครองที่เหมาะสมได้
นอกจากการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้วก็อย่าลืมใช้เวลาอยู่กับท่านบ้าง คุยกับท่านบ่อย ๆ จะได้ดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจยังไงล่ะ