“นี่คือเหงา นี่แหละเหงาา
นี่คือความจริง ที่ได้เจอ
เจ็บ ปวด ทรมาน
ลึกลงข้างใน ใจ”
ทุก ๆ ปีผู้คนต่างมาพร่ำบอกความเหงาหรือไม่ก็เหงาอยู่มุมใดมุมหนึ่งของโลกในคืนวาเลนไทน์เสมอ จาก #คนเหงา2018 เป็น #คนเหงา2019 #คนเหงา2020 ไปเรื่อย ๆ งานวิจัยของ John Cacioppo ที่ตีพิมพ์บนวารสาร Social Science and Medicine ชิ้นหนึ่งในปี 2010 พบว่า ความรู้สึกเหงาไม่เกี่ยวกับสถานภาพการแต่งงาน คู่ชีวิต หรือจำนวนเพื่อนรอบตัว กล่าวคือ แม้ว่าเราจะไม่ได้อยู่คนเดียว แต่ก็สามารถรู้สึกเหงาได้อยู่ดี ความเหงาจึงไม่ใช่สถานภาพแต่เป็นเรื่องของสภาวะทางจิตใจมากกว่า
เป็นความจริงที่ผู้คนมักรู้สึกเหงามากขึ้นเมื่อเข้าเทศกาลวาเลนไทน์โดยส่วนมากไม่รู้ว่าทำไมตนจึงรู้สึก ‘เหงา’ เทศกาลวาเลนไทน์นี้ไม่ว่าคุณจะมีคู่หรือเป็นชาวโสด คุณสามารถเปลี่ยนความรู้สึกเหงาที่มีต่อเทศกาลแห่งปีนี้ได้ด้วยการเริ่มต้นเข้าใจว่าความเหงาที่คุณรู้สึกเกิดขึ้นจากอะไร
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
เหตุผล 3 ข้อใหญ่ว่าทำไมคนถึงรู้สึกเหงามากในวันวาเลนไทน์
Credit: element5 digital/unsplash
1. ผู้คนต่างกลัวที่จะเผยตัวตนจริง ๆ ให้คนอื่นรู้
ผู้คนจำนวนมากมีความกลัวถึงข้อบกพร่องร้ายแรง (Fatal Flaw) เพราะมันเกิดจากความเชื่อที่ว่าแต่ละคนมีบางสิ่งบกพร่องโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ความเชื่อเรื่องข้อบกพร่องนี้จะกันให้คุณจากการสนิทสนมกับผู้อื่น หนึ่งในความคิดเกี่ยวกับข้อบกพร่องนี้คือ “หากผู้อื่นรู้จักฉันมากขึ้น พวกเขาต้องไม่ชอบฉันแน่” เป็นต้น คุณอาจจะแต่งงานหรือถูกรายล้อมด้วยผู้คนมากมายแต่นั่นไม่ได้ทำให้คุณเหงาน้อยลงเพราะไม่มีใครในผู้คนเมากมายเหล่านั้นที่จะรู้จักคุณอย่างแท้จริง เพราะคุณไม่ให้พวกเขาเข้าสัมผัสตัวตนแท้จริงของคุณนั่นเอง
2.การหลีกเลี่ยงความสนิทสนม
‘การหลีกเลี่ยงความสนิทสนม’ คือความกลัวการต้องการหรือการต้องยึดติดอยู่กับใครบางคน ผู้คนกลัวที่จะค้นหาคนรักเพราะกลัวว่าการอยากมีความรักนี้จะทำให้คุณรู้สึกอ่อนแอ การหลีกเลี่ยงความสนิทสนมสามารถทำให้คุณอายที่จะยอมรับว่าคุณอยากมีคนรัก มันสามารถทำให้คุณบังคับตัวเองให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยที่คุณไม่ได้สังเกต
3.คุณซ่อนตัวเองจากความรู้สึกที่แท้จริง
สำหรับบางคน ความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อื่นถือเป็นเรื่องร้ายแรง เมื่อคุณรู้สึกมีชีวิตชีวากับใครบางคน คุณจะรู้สึกถึงความเสี่ยง และเมื่อความสปาร์คนี้ไม่ได้เกิดขึ้น คุณจะรู้สึกปลอดภัยมากกว่า แต่การอยู่กับความปลอดภัยนี้มาพร้อมกับความเหงา ความรักที่แท้จริงต้องมีการเชื่อมกันทางความรู้สึก การเชื่อมโยงกันทางความรู้สึกมีความเสี่ยงซึ่งคุณไม่สามารถเลือกอันใดอันหนึ่งได้
กล่าวโดยสรุปคือ ผู้คนกลัวการถูกรู้จักตัวตนที่แท้จริง กลัวการมีความต้องการใครบางคน กลัวความเสี่ยง ความกลัวทั้ง 3 ประการนี้ส่งผลสำคัญต่อการดำเนินชีวิตแต่ข่าวดีคือคุณสามารถเป็นคนไม่เหงา 2019 ได้!
3 วิธีเปลี่ยน #คนเหงา2019 เป็น #คนไม่เหงา2019
Credit: jasmine waheed/ unsplash
1.อนุญาตให้ใครสักคนเข้ามาในชีวิตของคุณ
เลือกใครสักคนแล้วลองเสี่ยงกับความสัมพันธ์ดูสักตั้ง เริ่มจากการให้ใครสักคนรู้ว่าคุณต้องการอะไร คุณรู้สึกอย่างไร สิ่งนี้อาจถือเป็นความเสี่ยง แต่ในชีวิตย่อมเจอความเสี่ยงเป็นเรื่องปกติ เลือกคนที่ไว้ใจและลองเปิดใจดูแล้วคุณอาจเจอผลลัพท์ที่น่าตกใจได้!
2.ยอมรับว่ามันไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะต้องการใครสักคน
การต้องการมีใครสักคนไม่ใช่ความอ่อนแอของมนุษย์ แต่มันคือสัญญาณของความเข้มแข็ง ความต้องการอยากจะใกล้ชิดกับใครสักคนคือเรื่องปกติ การจะพัฒนาความสัมพันธ์กับใครสักคนคือสัญญาณของความมั่นใจในตัวเอง ไม่ใช่จุดอ่อนแต่อย่างใด
3.สร้างการเชื่อมโยงทางอารมณ์กับจุดมุ่งหมายของคุณ
ปรับเปลี่ยนความคิดที่คุณมองการเชื่อมโยงกับใครสักคนจากแง่ลบเป็นแง่บวก นี่คือหนทางที่คุณจะเผชิญหน้ากับความกลัวของตัวเองได้ ในครั้งหน้าที่คุณมีปัญหากับใคร ให้ลองคุญกับเขาตัวต่อตัว เริ่มสนใจว่าคนอื่นกำลังรู้สึกอะไรอยู่ ลองดูว่าจะทำอะไรกับมันได้บ้าง การเริ่มเป็นคนที่ใส่ใจกับความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่นมากขึ้นคือหนทางที่วิเศษที่จะทำให้คุณเอาชนะความกลัวการเชื่อมโยงกับคนอื่นได้
Credit: jez timms/ unsplash
แล้วครั้งหน้าเมื่อคุณกำลังเหงา ขอให้รู้ไว้ว่าการจัดการความเหงาอยู่ที่ตัวเราไม่เกี่ยวกับช่อดอกไม้หรือใครที่ไหน และไม่ว่าวาเลนไทน์นี้คุณจะมีคู่ จะอยู่กับเพื่อนฝูง หรือคุณจะโสด สิ่งที่คุณต้องทำคือเผชิญหน้ากับความกลัวที่ตนเองก่อขึ้นมา และรับรู้ไว้ว่ามันไม่จำเป็นเลยที่จะต้องรู้สึก ‘เหงา’