เริม (Herpes) โรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้หากไม่ระวัง ซึ่งพบได้บ่อยมาก และเมื่อเป็นแล้วหลายคนรู้สึกอายกับการไปโรงพยาบาลทั้งที่ความจริงแล้ว โรคเริม หรือเริมที่ปาก สามารถเกิดได้ทั้งหญิงและชายหากร่างกายอ่อนแอ และได้รับเชื้อเข้ามา วันนี้เราจึงขอนำทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคเริม รวมไปถึงสาเหตุ อาการ วิธีการรักษา ข้อควรปฏิบัติ และวิธีป้องกันเพื่อช่วยให้ห่างไกลโรค หรือรู้วิธีการรับมืออย่างถูกต้อง
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
เริมที่ปาก คือโรคติดต่อทางผิวหนัง โดยเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex virus – HSV) จากรอยโรค หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยเริมคนอื่น ๆ ของผิวหนัง เช่น การดื่มน้ำ หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นช้อน ส้อม แก้วน้ำ ผ้าขนหนู ลิปสติก หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ทั้งภายในบ้าน หรือสถานที่สาธารณะทั่ว ๆ ไป รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อไวรัส ก็อาจได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายเช่นกัน
ถ้าพูดถึงเริมที่ปากในสมัยอดีตจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างรุนแรง รวมถึงผู้ที่เป็นจะรู้สึกอาย และเสียบุคลิกซึ่งเริมจะมีอาการ ดังต่อไปนี้
ซึ่งลักษณะอาการของเริมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เมื่อหายแล้วสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถอยู่ในร่างกายได้ตลอดชีวิต หากไม่ทำการรักษาที่ถูกต้องแต่โดยปกติเมื่อเป็นซ้ำอาการจะไม่รุนแรงเท่ากับครั้งแรก ถ้าหากบุคคลใดเป็นภายซ้ำภายในระยะหนึ่งปีมากกว่า 6 ครั้งแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
แม้จะเป็นโรคที่รักษาแล้วไม่หาย และอาจกลับมาเกิดโรคซ้ำได้ แต่สิ่งที่ดีคือการรู้จักปฏิบัติตน และดูแลรักษาแผลให้ถูกต้อง โดยมีวิธีในการรักษาโดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
ซึ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อดูแลตนเองเบื้องต้นโดยเริ่มที่
เมื่อพบตุ่มใสซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของเริม แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อการวินิจที่ถูกต้องแน่นอนโดยการวินิจฉัยหาเริมที่ปากนั้นได้แก่ การวิเคราะห์ถึงลักษณะของผื่น การเพาะเชื้อ หรือการตรวจทดสอบด้วยวิธี Tznack test หากผลออกมาว่าเป็นเริมควรได้รับยาในการรักษาระยะเฉียบพลันโดยทันที ส่งผลให้หายเร็วกว่าปกติ ดังนั้นจึงควรมาพบเเพทย์เมื่อมีอาการ
ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้ามเมื่อสังเกตพบว่า ตนเองมีความรู้สึกคล้ายลักษณะอาการข้างต้นโดยแนะนำให้ไปพบแพทย์โดยทันทีเพื่อการรักษาที่รวดเร็ว และมีอัตราโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้น้อยลง
เริมเป็นโรคที่กลับมาเป็นซ้ำได้ โดยบางครั้งไม่ได้มีอาการแสดงโดยทันทีทำให้อาจแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ จึงควรรู้จักวิธีป้องกัน และข้อควรปฏิบัติในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย และห่างไกลโรคเริม
เราก็ได้รู้ไปแล้วว่าเริมเกิดจากอะไร เริมอาการอย่างไร จะเห็นได้ว่าเริมที่ปากเป็นโรคติดต่อที่สามารถเกิดซ้ำได้ และยังสามารถกระจายไปสู่ผู้อื่นจึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีป้องกัน วิธีการปฏิบัติตนในการดูแลรักษาสุขภาพรวมไปถึงการสังเกตลักษณะอาการหากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงซึ่งควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด สุดท้ายนี้ แม้ว่าเริมจะยังไม่มีวัคซีนในการรักษาแต่ก็สามารถลดอาการต่าง ๆ ลงได้โดยเริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการสร้างวินัยต่าง ๆ ด้วยตัวคุณเอง
แหล่งข้อมูล : bangkoksafeclinic, paolohospital, cheewajit, poonrada
เวียดนามเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักเดินทางทั่วโลกหลงรัก เพราะเต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชายหาดสวย น้ำทะเลใส ภูเขาสูงเสียดฟ้า หรือเมืองเก่าที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ตอบโจทย์ทั้งสายธรรมชาติ สายชิล และสายลุย! ที่สำคัญ เวียดนามเป็นประเทศที่เดินทางสะดวก ค่าครองชีพไม่แพง เที่ยวได้สบาย ๆ แม้งบจำกัด…
รู้จักร้านนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นเจ้าดังช้อปออนไลน์อย่างร้านไดโซะ มีอะไรขายบ้าง ? ซึ่งได้รวบรวมหมวดหมู่สินค้าชั้นนำที่มีจุดเด่นคือราคาของถูกเกืบทั้งร้าน มีตัวเลือกที่หลากหลาย มีหลายสาขาไปตามให้ช้อปได้มากมายทั้งในไทยและต่างประเทศ พร้อมแนะนำ 12 สินค้าไดโซะที่น่าสนใจให้ตามไปซื้อไปตำกันได้ในราคาสบายกระเป๋า ที่มีสินค้าอะไรบ้าง อย่าพลาด! ไปตามกันเลย Cr. daisothailand ปักหมุดร้านช้อปปิ้งออนไลน์ไดโซะ…
สาว ๆ ที่อยากสวยจึ้ง สวยแบบตะโกน เชิญมาทางนี้เลยจ้า.... ก็ใช่ว่าทุกคนจะเกิดมาพร้อมกับขนตาที่งอนหนา ยาวเป็นแพเหมือนนางเอกในซีรีส์ อันนี้ก็เข้าใจได้เพราะเราไม่ใช่สาย ฝ. หรือชาวตะวันออกกลาง ที่มีขนตายาวงอนเป็นแผงเหมือนกันทุกคน! จึงต้องมีไอเทมที่ช่วยให้ดวงตาดูกลมโต มีมิติมากขึ้น นั่นก็คือการติดขนตาปลอม แล้วปัดมาสคาราอีกสักนิด…
10 จุดกางเต็นท์ที่ไม่ควรพลาด! ไปช่วงไหนดี? ได้สัมผัสธรรมชาติแบบเต็มอิ่ม พร้อมจัดทริปหน้าหนาวที่ทำให้ฟินทุกการเดินทาง!
สาว ๆ หนุ่ม ๆ สายแฟเตรียมเซฟเก็บบทความนี้ไว้ในลิสต์เลยน้า! วันนี้ Shopee จะมาแจกพิกัดร้านสุดปัง! 15 แนะนำร้านแหวนแฟชั่น หลากหลายสไตล์ สีสันสดใส ดีไซน์สวยเก๋ไม่ซ้ำใคร ทั้งแหวนผู้หญิงและผู้ชาย ให้เลือก…
มือใหม่หัดบิดต้องรู้! แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ ใช้ได้กี่ปี? เปลี่ยนตอนไหนดี? พร้อมวิธีเลือกซื้อและดูแลรักษาแบตฯ ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน