สิ้นปีเป็นช่วงเวลาที่ใครหลายคนรอคอยเพื่อที่จะกลับบ้านไปเฉลิมฉลองอยู่กับครอบครัวหลังจากโหมทำงานหนักมาตลอดทั้งปี ในปีนี้กรมทางพิเศษแห่งประเทศไทยใจดีทิ้งท้ายปีเสือด้วยการมอบของขวัญพิเศษแก่ผู้ใช้เส้นทางผ่านการประกาศยกเลิกค่า ทางด่วนฟรีปีใหม่ 2565 ซึ่งจะยกเลิกค่าทางด่วน ฟรี เส้นไหนบ้างและเริ่มยกเลิกค่าทางด่วนวันไหน เราจะตอบทุกคำถามเพื่อคลายทุกข้อสงสัยให้ได้เตรียมตัวกันก่อนออกเดินทางยิ้มเบิกบานต้อนรับปีเถาะ
ก่อนจะไปรู้กับเส้นทางด่วนฟรี ปีใหม่ขอนำคุณผู้อ่านไปรู้จักกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจที่สังกัดภายใต้กระทรวงคมนาคมโดยจากการสร้าง หรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีการใด ๆ ตลอดจนบำรุงรักษาทางพิเศษและดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


cr: pexels
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ปัจจุบันทางพิเศษมีทั้งหมดกี่เส้นทาง
โดยในปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้บริการทางพิเศษทั้งหมด 8 เส้นทาง ได้แก่
1.ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางพิเศษเฉลิมมหานครมีจำนวน 3 เส้นทางซึ่งมีระยะทางรวม 27.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย
- สายดินแดง–ท่าเรือ โดยจะประกอบด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 6 ด่าน ได้แก่ ด่านดินแดง, ด่านเพชรบุรี, ด่านสุขุมวิท, ด่านพระราม
- สายบางนา–ท่าเรือ โดยจะประกอบด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 4 ด่าน ได้แก่ ด่านท่าเรือ 2, ด่านอาจณรงค์, ด่านสุขุมวิท 62 และด่านบางนา
- สายดาวคะนอง–ท่าเรือ โดยจะประกอบด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 5 ด่าน ได้แก่ ด่านสาธุประดิษฐ์ 1, ด่านสาธุประดิษฐ์ 2, ด่านพระราม 3, ด่านสุขสวัสดิ์ และด่านดาวคะนอง
2.ทางพิเศษศรีรัช
ทางพิเศษศรีรัชมีแบ่งออกเป็น 4 ส่วนโดยมีระยะทางรวม 38.4 กิโลเมตร ประกอบด้วย
- สายพญาไท–ศรีนครินทร์ โดยแยกย่อย ออกเป็นสาย A ระยะทาง 12.4 กิโลเมตรและ D ระยะทาง 8.6 กิโลเมตร
- สายบางโคล่–แจ้งวัฒนะ โดยแยกย่อย ออกเป็นสาย B ระยะทาง 9.4 กิโลเมตรและ C ระยะทาง 8 กิโลเมตร
3.ทางพิเศษฉลองรัช
ทางพิเศษฉลองรัชมีแบ่งออกเป็น 3 ช่วงจากทางด่วนสายอาจณรงค์-รามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร โดยมีระยะทางรวม 38.4 กิโลเมตรทั้งหมด 14 ด่านประกอบด้วย
- ช่วงที่ 1 รามอินทรา–อาจณรงค์ ที่มีด่านเก็บค่าผ่านทางรวมจำนวน 10 ด่านซึ่งเริ่มจากบริเวณอาจณรงค์ไปสิ้นสุดช่วงแรกที่ถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 5.5
- ช่วงที่ 2 รามอินทรา–วงแหวนรอบนอก เริ่มต้นโดยต่อจากช่วงแรกที่ถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 5.5 ไปสิ้นสุดช่วงที่ 2 ที่บริเวณถนนกาญจนาภิเษก ตรงคลองพระยาสุเรนทร์
- ช่วงที่ 3 วงแหวนรอบนอกรอบ2 (ฝั่งตะวันออก)– วงแหวนรอบนอกรอบ3 (ฝั่งตะวันออก)
4.ทางพิเศษบูรพาวิถี
ทางพิเศษบูรพาวิถี หรือเส้นที่เราคุ้นหูกันว่าทางด่วนบางนา – ชลบุรีที่เริ่มจากบริเวณปลายทางพิเศษสายบางนา–อาจณรงค์ ผ่านจังฟวัดสมุทรปาการ ฉะเชิงเทรา แล้วไปสิ้นสุดที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีโดยมีระยะทางทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร
5.ทางพิเศษอุดรรัถยา
ทางพิเศษอุดรรัถยาเป็นทางที่เชื่อมต่อมาจากทางพิเศษศรีรัชส่วน C บริเวณจุดตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ผ่านเมืองทองธานี เข้าจังหวัดปทุมธานี สู่สามโคก ม.ธรรมศาสตร์และเข้าสู่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนไปสิ้นสุดที่กิโลเมตรที่ 79 ของถนนกาญจนาภิเษก
6.ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์
ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์มีจุดเริ่มต้นจากปลายทางพิเศษฉลองรัชซึ่งซ้อนทับไปตามแนวทางพิเศษเฉลิมมหานครเดิม (ราบโรงกลั่น) เชื่อมต่อกับทางพิเศษบูรพาวิถี
7.ทางพิเศษกาญจนาภิเษก
ทางพิเศษกาญจนาภิเษก หรือถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร โดยระยะทางส่วนใหญ่คือ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมือง 5 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วยที่มีระยะทางทั้งสิ้น 181 กิโลเมตร
8.ทางพิเศษประจิมรัถยา
ทางพิเศษประจิมรัถยา (ทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) โดยเป็นทางพิเศษที่เชื่อมระหว่างฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครและพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนนทบุรีซึ่งจุดเริ่มต้นมาจากถนนกาญจนาภิเษก
ต่อมาจะเป็นศูนย์ควบคุมทางพิเศษซึ่งอยู่ภายใต่การดูแลของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งมีทั้งหมด 7 ศูนย์ ได้แก่
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษเฉลิมมหานคร (CCB1)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษศรีรัช (CCB2)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษฉลองรัช (CCB3)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษบูรพาวิถี (CCB4)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษอุดรรัถยา (CCB5)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ (CCB6)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก (CCB7)


cr: pexels
5 ทางด่วนฟรีปีใหม่ 2565
หลังจากรู้จักทางพิเศษทั้ง 8 สายกันไปแล้วรวมถึงศูนย์ควบคุมอีก 7 แห่ง ต่อมาจะเป็น 5 เส้นทางด่วนฟรีปีใหม่โดยมีทางด่วน ฟรี เส้นไหนบ้างมาดูกัน โดยเริ่มกันที่
2 ทางด่วนฟรีปีใหม่
- ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา-ชลบุรี)
- ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
Q: ทางด่วนฟรีวันไหนบ้าง ?
ทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าว ได้แก่ ทางพิเศษบูรพาวิถีและทางพิเศษกาญจาภิเษกจะให้ใช้ทางด่วนฟรีเริ่มต้นตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม 2564 เวลา 00.01 น. ไปจนถึงวันจันทร์ที่ 3 มกราคม 2565 เวลา 24.00 น. รวมทั้งสิ้น 5 วัน
3 ทางด่วนฟรีปีใหม่
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1)
- ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)
- ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด)
Q: ทางด่วนฟรีวันไหนบ้าง ?
ทั้ง 3 เส้นทางดังกล่าว ได้แก่ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัชและทางพิเศษอุดรรัถยาจะให้ใช้ทางด่วนฟรีเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม 2564 เวลา 01.00 น. ไปจนถึงวันเสาร์ที่ 1 มกราคม 2565 เวลา 24.00 น. รวมทั้งสิ้น 2 วัน


cr: pexel
นอกจากนี้ กทพ. ยังได้จัดตั้งหน่วยบริการประชาชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทางด่วน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อบริการประชาชนที่ใช้ทางพิเศษเพื่อเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 จุด ประกอบด้วย ด่านฯ ขาออกเมือง (ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2564 – วันที่ 1 มกราคม 2565 เวลา 07.00 – 21.00 น. ) ด่านฯ บางแก้ว 1, ด่านฯ ฉิมพลี, ด่านฯ บางปะอิน (ขาออก) , ด่านฯ ขาเข้าเมือง (ระหว่างวันที่ 2 – 4 มกราคม 2565 เวลา 07.00 – 21.00 น.) ด่านฯ ดาวคะนอง, ด่านฯ จตุโชติ, ด่านฯ บางปะอิน (ขาเข้า) (ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2564 – 1 มกราคม 2565 เวลา 20.00 – 24.00 น.) นอกจากนี้ ผู้ใช้ทางยังสามารถสอบถามข้อมูลสภาพการจราจรและแจ้งเหตุบนทางพิเศษได้ที่ EXAT ผ่าน Call Center ที่เบอร์ 1543
สำหรับท่านใดที่วางแผนกลับบ้านช่วงปีใหม่ นอกจากจะต้องเตรียมกระเช้าปีใหม่หรือของตกแต่งบ้านปีใหม่ให้พร้อมแล้ว ยังจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมและเช็ครถทุกครั้งก่อนออกเดินทางและอย่าลืม! เช็ควันเวลาของ 5 ทางด่วนฟรีปีใหม่ 2565 เพื่อที่จะได้ไม่พลาดโอกาสรับของขวัญปีใหม่จาก กทพ. ให้ประหยัดเงินในกระเป๋าพร้อมเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพและมีความสุขกับการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีกันในครอบครัว แล้วเจอกันใหม่ปีกระต่ายทอง Happy New Year 2566 ส่วนใครที่ไม่ได้เดินทางไปไหนหรือต้องการหาบทความสาระดี ๆ อ่านในช่วงปีใหม่นี้ สามารถเข้าไปติดตามอ่านได้ที่ Shopee Blog เรามีบทความรอคุณอยู่เพียบ เช่น ที่เที่ยววันเด็ก 2566 และ Shopee Food ใช้ยังไง เป็นต้น