สุขภาพของช่องปากและฟันที่ดีของลูก นับว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มเอาใจใส่ และดูแลสุขภาพฟันลูกน้อยตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก หรือเริ่มตั้งแต่ที่มีฟันน้ำนมขึ้นมา เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนล้วนอยากให้ลูกมีสุขภาพฟันที่ดี มีฟันขาวสะอาด ฟันเรียงกันสวยงาม และที่สำคัญห่างไกลจากโรคฟันผุ แต่เชื่อไหมว่าโรคปัญหาของช่องปากที่พบมากที่สุดในเด็กนั่นก็คือ ฟันน้ำนมผุ คือเริ่มผุกันตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเริ่มสังสัยว่าทำไมเด็กฟันน้ำนมผุได้ทั้งทีอายุยังไม่ถึงขวบเลย สำหรับใครที่ปัญหาหรืออยากป้องกัน เพื่อไม่ให้ลูกเกิดโรคฟันผุ วันนี้เรารวบรวมสาระน่ารู้ดี ๆ เกี่ยวกับปัญหาโรคฟันน้ำนมผุ พร้อมวิธีรักษาและป้องกันเพื่อไม่ให้ฟันผุ มีสาระอะไรที่น่ารู้บ้างตามไปอ่านได้เลย
หัวข้อต่างๆ ของบทความนี้
ฟันซี่แรกของลูกน้อย…ขึ้นเมื่อไหร่ และฟันน้ำนมมีกี่ซี่
สำหรับการขึ้นของฟันน้ำนมจะเริ่มสร้างหน่อฟัน (Tooth Bud) ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ช่วงประมาณเดือนที่ 6 โดยจะค่อย ๆ เริ่มสร้างหน่อฟันอยู่ในขากรรไกร และเสริมสร้างด้วยแคลเซียม และฟอสฟอรัสสะสมทำให้แข็งขึ้น จนเป็นรูปร่างฟันที่แข็งแรงและสมบูรณ์ โดยฟันน้ำนมจะมีด้วยกันทั้งหมด 20 ซี่ ซึ่งฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้นเมื่อลูกอายุประมาณ 6 – 7 เดือน ส่วนใหญ่ฟันที่ขึ้นก่อนเพื่อนเลยจะเป็นฟันหน้าด้านล่าง ขึ้นมาด้วยกัน 2 ซี่เล็ก ๆ หลังจากนั้นฟันน้ำนมซี่อื่น ๆ ก็จะเริ่มทยอยขึ้นตามมาเรื่อย ๆ จนครบทั้ง 20 ซี่ ตั้งแต่อายุประมาณ 2 ปีครึ่ง ไปจนถึงอายุ 6 ปี และเมื่อฟันน้ำนมเริ่มหลุด ฟันแท้ก็จะขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมนั่นเอง
ฟันน้ำนมผุได้ตั้งแต่เด็กอายุเท่าไหร่
เมื่อฟันน้ำนมเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6 เดือน หมายความว่าโอกาสที่เด็กจะพบปัญหาฟันผุได้หากมีการดูแลรักษาไม่ดีเนื่องจากฟันน้ำนมจะมีชั้นเคลือบของฟันที่บางกว่าชั้นเคลือบฟันของฟันแท้ และมีแร่ธาตุสำคัญอย่างแคลเซียม และฟอสฟอรัสที่น้อยกว่าในฟันแท้ จึงทำให้เด็กเล็กมีโอกาสฟันน้ำนมแตก หรือ ฟันน้ำนมผุ ได้ง่ายมากกว่าเด็กโตที่มีฟันแท้
สาเหตุหลักที่ทำให้ฟันน้ำนมผุเกิดจากอะไร
หากพูดถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กฟันผุตั้งแต่ยังเป็นฟันน้ำนม ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการเลี้ยงดูของครอบครัว การเอาใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากให้กับเด็ก ซึ่งปัจจุบันคุณแม่หลายคนจะฝึกให้ดื่มนมจากขวดนม และเมื่อเด็กหลับก็ปล่อยให้หลับพร้อมกับขวดนม จึงทำให้น้ำตาลที่มีอยู่ในน้ำนมแม่หรือนมผง สามารถเข้าไปทำลายเคลือบฟันของเด็กได้ เนื่องจากพวกคราบจุลินทรีย์ต่าง ๆ จะย่อยกลายเป็นน้ำตาลในนม แล้วไปค้างอยู่บนผิวฟันน้ำนม ทำให้เกิดการสะสมของกรด พอสะสมขึ้นเรื่อย ๆ มีโอกาสทำให้ฟันน้ำนมผุได้ นอกจากนี้แล้วฟันผุอาจเกิดจากสาเหตุพฤติกรรมการกินปล่อยให้เด็กกินพวกขนมของหวาน เช่น ช็อกโกแลต อมยิ้ม ขนมกรุบกรอบ แล้วไม่ยอมแปรงฟัน มีโอกาสทำให้เด็กปวดฟันน้ำนมได้ แนะนำว่าควรเริ่มฝึกให้เด็ก ๆ หัดแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยลดปัญหาฟันผุได้
วิธีดูแลรักษาฟันน้ำนมผุ
เมื่อฟันน้ำนมของลูกเริ่มขึ้น แนะนำให้คุณแม่หมั่นคอยดูแลและตรวจเช็กว่ามีฟันผุหรือไม่ ถ้าพบว่า ฟันน้ำนมผุ เบื้องต้นคุณหมอจะให้คำแนะนำเรื่องของการรับประทานอาหาร และวิธีดูแลการทำความสะอาดฟันที่ถูกต้อง หรืออาจจะเคลือบหลุมร่องฟันให้กับเด็ก หรืออาจจะอุดฟันหรือครอบฟันในฟันที่ผุถึงชั้นเนื้อฟัน แต่ถ้าหากฟันผุนั้นไม่ได้ทะเลเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน คุณหมอจะเลือกวิธีรักษารากฟัน หรือการถอนฟันแทน และสำหรับกรณีที่ฟันน้ำนมผุไม่มาก ยังไม่ได้เข้าไปทำลายรากฟัน หรือกระดูกเบ้าฟันไปมากเกินไป คุณก็จะแนะนำให้เก็บรักษาฟันน้ำนมเอาไว้ใช้งานต่อไป แล้วรอจนกว่าฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่ ทั้งนี้ ถ้าเด็กมีอาการปวดฟันน้ำนมมากแนะนำให้รีบพาไปพาคุณหมอเพื่อตรวจรักษา โดยการรักษาในบางครั้งอาจจำเป็นต้องฉีดยาชาหรือป้ายยาชา เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกเจ็บปวด


credit : www.freepik.com
ผลกระทบที่ตามมาจากฟันน้ำนมผุ
ผู้ใหญ่หลายคนรู้กันดี เวลาปวดฟันมันทรมานแค่ไหน แทบไม่อยากทำอะไร ไม่อยากกิน ไม่อยากพูดกับใครเลย แล้วถ้าเด็กปวดฟันน้ำนมจะเจ็บแค่ไหน ดังนั้น ฟันน้ำนมผุ จึงไม่ใช่แค่ปัญหาสุขภาพอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงปัญหาสุขภาพด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็ก ๆ เช่น หากเด็กมีฟันผุเยอะมากจนต้องถูกถอนออก ก็จะส่งผลให้ฟันแทนขึ้นมาได้ช้ากว่าปกติ หรืออาจทำให้เกิดปัญหาฟันซ้อนเกได้ เนื่องจากฟันน้ำนมซี่ที่อยู่ข้างกับฟันน้ำนมที่ถูกถอนออกไปล้มมาแทนที่ และเมื่อฟันแท้ขึ้นมาไม่สวยเหมือนเพื่อนคนอื่น ก็อาจจะทำให้เด็กรู้สึกขาดความมั่นใจได้ นอกจากถ้าหากต้องไปพบคุณหมอเพื่อถอนฟันบ่อย ๆ เด็กอาจจะเกิดความกลัวจนไม่อยากไปหาหมอเลยก็ได้เช่นกัน
วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ฟันน้ำนมผุ
หลายคนอาจคิดว่าปัญหา ฟันน้ำนมผุ คงจะเป็นธรรมดาทั่วไป เพราะยังไงเดี๋ยวฟันแท้ก็ขึ้นมาแทนฟันน้ำนมอยู่ดี แต่รู้หรือไม่ว่าการที่คิดว่าเด็กฟันน้ำนมผุปัญหาเล็ก ๆ อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้ในอนาคต ดังนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกมีสุขภาพฟันที่ดี ควรต้องหมั่นใส่ใจดูแลรักษาทำความสะอาดช่องปาก และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีโอกาสทำให้ลูกฟันผุได้ ดังนี้
- เมื่อลูกอายุ 4 ปี ควรฝึกให้ลูกรู้จักการแปรงฟันอย่างถูกวิธี
- ควรฝึกให้ลูกเข้านอนโดยที่ไม่ติดขวดนมเพื่อป้องกันขวดนมคาปาก
- ควรให้ลูกบ้วนปากหลังจากดื่มนม รับประทานขนม หรือหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
- ควรแปรงฟันให้ลูกด้วยยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง ในช่วงเวลาเช้าและก่อนนอน
- เมื่อลูกอายุ 6 – 12 เดือน ควรฝึกให้ใช้แก้วน้ำแทนขวดนม และควรฝึกให้ดูดนมจากหลอด เมื่ออายุ 1 ปี ขึ้นไป ควรเลือกใช้ขวดนม
- ควรพาลูกไปพบกับทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก หากมีฟันน้ำนมแตกหรือผุจะได้รักษาได้ทันที
- ไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหารรสหวาน ขนมจุบจิบ ลูกอม เพราะว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ฟันผุได้ หรือถ้าอยากรับประทานจริง ๆ ให้รับประทานในมื้ออาหาร
จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่าปัญหา ฟันน้ำนมผุ นั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้ามีสุขภาพฟันที่ดีก็จะเป็นพื้นที่ฐานที่ดีสำหรับฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นตามมาก สำหรับคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกฟันสวยและสุขภาพฟันแข็งแรง ลองนำวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ฟันน้ำนมผุ ที่เราได้แนะนำไปลองใช้กับลูก ๆ และสิ่งสำคัญควรจะฝึกให้เป็นนิสัย ควรให้แปรงฟันวันสองครั้ง ก่อนนอนถ้าแปรงฟันแล้วก็ไม่ควรให้รับประทานอาหารหรือขนม รวมถึงการสอนให้รู้จักใช้ไหมขัดฟัน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดฟันผุได้เหมือนกัน สุดท้ายหมั่นตรวจสุขภาพฟันให้หมั่นเสมอทุกปี เพื่อรอยยิ้มที่สดใสและสุขภาพฟันที่ดี
ที่มาข้อมูล : mahidol.ac.th